รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 9.8 แสนคน เป็น 1.13 ล้านคน เหตุบริโภคเค็ม ใช้ยาไม่ถูกต้องและเกินความจำเป็น สสส. สานพลังจุฬาฯ สร้างการรับรู้ควบคู่การดูแล เร่งสื่อสารการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต
เนื่องในวันไตโลก ปี 2568 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าว “World Kidney Day ถ้ารักไต อย่าให้ไตวาย” ภายใต้โครงการการสื่อสารเรื่องการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ยาและส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาที่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2568 ที่โรงแรมทริปเปิ้ล วาย
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้วันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่สองของเดือนมีนาคมของทุกปีเป็นวันไตโลก จากรายงานของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นจาก 980,000 คน ในปี 2565 เป็น 1,130,000 คน ในปี 2567 และสถานการณ์โรคไตเรื้อรังปี 2534 – 2564 มีการสูญเสียปีสุขภาวะหรือความสูญเสียด้านสุขภาพเร็วขึ้น 3.14 เท่า รองลงมาคือมะเร็ง 2 เท่า หลอดเลือดหัวใจ 1.8 เท่า สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะอาหารรสเค็ม และการบริโภคยาที่ไม่ถูกต้องและเกินความจำเป็น การเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และการสูบบุหรี่ ขณะที่ข้อมูลการสำรวจความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในบุคลากรด้านสาธารณสุขและประชาชน ใน 13 เขตสุขภาพ ปี 2567 ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประชาชนมีระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 64.9%
“สสส. มุ่งส่งเสริมมาตรการเพื่อป้องกันประเด็นที่เกี่ยวกับโรคไต โดยมีแผนอาหารลดเค็ม ลดโรคขับเคลื่อนนโยบายลดโซเดียมให้คนไทยลดบริโภคเค็ม แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและการพัฒนาระบบยา ขับเคลื่อนนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมงานวิชาการ งานวิจัย และสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายในการคุ้มครองผู้บริโภคจากการใช้ยาอันตราย รวมถึงการสื่อสารรณรงค์ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้บริโภค ป้องกันการถูกหลอกลวงเรื่องการใช้ยา ซึ่งการพัฒนาการสื่อสารเรื่องการใช้ยาเพื่อลดความเสี่ยงโรคไต เพื่อให้คนตระหนักและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาในชีวิตประจำวัน เพราะกลุ่มยาแก้อักเสบ หรือ NSAIDs ยาชุด ยาสมุนไพรบางชนิด อาจมีฤทธิ์หรือคุณสมบัติบางอย่างทำให้ไตทำงานได้ลดลง ซึ่งหากประชาชนทั่วไปหาซื้อและนำมาใช้ด้วยตนเอง โดยขาดความรู้หรือความระมัดระวัง และไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก็จะส่งผลเสียต่อไตได้” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
อ.ดร.วรรษยุต คงจันทร์ รองคณบดีด้านบริการวิชาการและเชื่อมโยงสังคม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ผลการวิจัยพฤติกรรม ทัศนคติ และการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับการบริโภคยากลุ่ม NSAIDs สมุนไพร และอาหารเสริมของกลุ่มพนักงานออฟฟิศ และผู้ใช้แรงงาน รุ่นอายุ 44-59 ปี หรือ Generation X กลุ่มผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และใช้ยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ มักซื้อยาจากร้านขายยาเองเพื่อประหยัดเวลารวมถึงการใช้สมุนไพรเสริม มีพฤติกรรมการใช้ยาชุดตั้งแต่วัยรุ่น แม้จะตระหนักถึงความเสี่ยง กลุ่มพนักงานออฟฟิศมีโรคประจำตัวคล้ายกับกลุ่มแรงงาน แต่ไปพบแพทย์และใช้ยาตามแพทย์สั่งมากกว่า ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากกว่ากลุ่มผู้ใช้แรงงาน และไม่ใช้ยาชุดเนื่องจากเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพมากกว่า ส่วนการเปิดรับสื่อทั้งสองกลุ่มเน้นรับข้อมูลผ่านสื่อบุคคล เช่น ครอบครัวหรือเพื่อนใกล้ชิด
ผศ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโครงการ กล่าวถึงผลการวิจัยกลุ่มพนักงานออฟฟิศ และผู้ใช้แรงงาน รุ่นอายุ 28-43 ปี หรือ Generation Y กลุ่มผู้ใช้แรงงานเริ่มมีโรคประจำตัว เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ ทำให้ใช้ยากลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ และใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรตามคำแนะนำจากคนใกล้ชิด กลุ่มพนักงานออฟฟิศมีการดูแลสุขภาพมากขึ้น ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยการปรึกษาแพทย์ ด้านทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสองกลุ่มมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้ยาและสมุนไพรที่มีผลต่อไต แต่ยังใช้ยาและอาหารเสริมตามคำแนะนำจากแพทย์หรือหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ส่วนการเปิดรับสื่อกลุ่มนี้นิยมสื่อออนไลน์ เช่น TikTok, Facebook โดยเฉพาะวีดิทัศน์สั้นจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือ Influencer สายสุขภาพ
ผศ.ดร.ธีรดา กล่าวถึงผลการวิจัยในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 19-27 ปี หรือ Generation Z กลุ่มผู้ใช้แรงงานยังไม่ค่อยมีโรคประจำตัว เน้นการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เกี่ยวกับผิวพรรณและรูปร่าง โดยได้รับข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตหรือคำแนะนำจากเพื่อน กลุ่มพนักงานออฟฟิศคล้ายกับกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ในเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่จะไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหนักขึ้น ด้านทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาพ ครอบครัวและคนใกล้ชิดมีผลต่อการตัดสินใจ โดยกลุ่มนี้มีความระมัดระวังในการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ส่วนการเปิดรับสื่อจะเน้นการรับสื่อออนไลน์ เช่น TikTok โดยเชื่อถือข้อมูลจากแพทย์หรือ Influencer ที่มีความน่าเชื่อถือในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการสร้างการตระหนักรู้พร้อมกับการส่งเสริมความรู้ ให้เข้าถึงกลุ่มคนทุกรุ่นเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมสุขภาวะคนในประเทศให้มีสุขภาพที่ดี และลดค่าใช้จ่ายของประเทศ หากประชาชนทั่วไปต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สายด่วน 1556
นอกจากนี้ ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ยังได้ร่วมแบ่งบันความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของภาวะผู้ป่วยโรคไต และสาเหตุหลักของโรคไตในปัจจุบัน รวมถึง ผลกระทบของการใช้ยาโดยไม่ปรึกษาเภสัชกร พร้อมทั้งแนะนำแนวทางการจ่ายยาให้ปลอดภัยต่อไต ทั้งนี้ยังมีการแบ่งบันประสบการณ์ตรงจากคุณคริสโตเฟอร์ ไรท์ ครูสอนภาษาอังกฤษรายการ Click ช่อง Mahidol Channel นักพูด และวิทยากรชื่อดัง ได้เล่าประสบการณ์ตรงจากใจผู้บริโภคและคุณพ่อที่ต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ยาให้กับลูกชายที่มีปัญหาจากโรคไต
ช่องทางการติดตาม
Facebook Page: กินยาสมเหตุ หายโรคสมผล ทุกคนสมใจ
TikTok: @pillproperly
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้