รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 กันยายน 2562
ภาพข่าว
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2562 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จทรงเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง “70 ปี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : อิทธิพลของรัฐธรรมนูญเยอรมนีต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญไทย” ซึ่งศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเพิ่มมุมมองการศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในลักษณะของสหวิทยากร ในประเด็นอิทธิพลของกฎหมายรัฐธรรมนูญเยอรมันต่อรัฐธรรมนูญไทย โดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยและชาวเยอรมัน จากการแสดงปาฐกถาและการอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิ
ในการนี้ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กราบทูลสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ศ.ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ราชบัณฑิตและนายกสมาคมไทย – เยอรมัน กราบทูลรายงานที่มาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย กราบทูลรายงานประวัติการรวมชาติสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และการพัฒนาการใช้กฎหมาย Basic Law นายเฮนนิง กลาเซอร์ ประธานมูลนิธิอาเซียน กัฟเวอร์เมนท์ กราบทูลรายงานสาเหตุหลักที่ทำให้ กฎมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับการยอมรับและยังคงเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวของประเทศเยอรมนี
ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณี สิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานพระดำรัสเปิดการประชุมวิชาการ จากนั้นเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการภาพวาดผลงานของนักเรียนในหัวข้อ “ฉลอง 70 ปี สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประวัติศาสตร์ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี”
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้