ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ ปรับตัวอย่างไรในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19

จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้สถานศึกษาปิดเรียนชั่วคราว ตั้งแต่วันพุธที่ 18 มีนาคม 2563 เป็นระยะเวลาสองสัปดาห์ และให้สถานศึกษาดำเนินการป้องกันโรคตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งจัดให้มีการเรียนการสอนออนไลน์ทุกรายวิชา รวมถึงนิสิตที่พักอยู่ที่หอพักนิสิตจุฬาฯ สามารถเดินทางกลับบ้านได้ทันที ส่วนหนึ่งของนิสิตจุฬาฯ ได้แสดงความเห็นในเรื่องการปรับตัวรับสถานการณ์เช่นนี้ รวมถึงการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

“หลังจากที่มีประกาศออกมา ผมตัดสินใจกลับบ้านครับ ใช้โอกาสนี้กลับไปเจอพ่อแม่ สำหรับการใช้ชีวิตในช่วงการระบาดของ COVID-19 ก็ค่อนข้างเปลี่ยนไปเยอะ เก็บตัวเองมากขึ้น ต้องพกเจลล้างมือและใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ในส่วนของการเรียนแบบออนไลน์ อาจารย์จะเน้นไปที่การสั่งงานและตอบคำถาม  ข้อดีของการเรียนวิธีนี้คือได้ฝึกวินัยตัวเอง จะเรียนที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนอาจไม่เท่าการเรียนในชั้นเรียนจริงๆ  แต่ก็เป็นไปตามสถานการณ์นะครับ ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก”

หทัยทัต จิโรจน์มนตรี นิสิตชั้นปีทื่ 1 คณะเภสัชศาสตร์

“หอพักนิสิตมีประกาศให้นิสิตกลับไปพักที่บ้านได้ซึ่งยังไม่ทราบระยะเวลาว่าจะสามารถกลับเข้ามาพักได้อีกเมื่อไหร่ ส่วนการใช้ชีวิตประจำวัน ก็พยายามหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น เช่น รถไฟฟ้า เพื่อลดความเสี่ยงให้ตัวเอง  สำหรับการเรียนออนไลน์เห็นด้วยกับการเรียนด้วยวิธีนี้ ซึ่งในบางวิชา เช่น วิชาที่เรียนในห้อง Lab  อาจเป็นเรื่องยากในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์”

ณัฏฐาภรณ์ ทองวัฒนา นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์

“ยังคงพักอยู่ที่หอพักนิสิตจุฬาฯ โดยทางหอพักนิสิตมี QR Code ให้สแกนเพื่อลงทะเบียนขอพักต่อตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมเป็นต้นไป เพื่อทำการคัดกรองและเตรียมความพร้อมในการดูแลนิสิต  การรับมือสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะพยายามอยู่แต่ในห้อง ถ้าจะออกไปข้างนอกก็จะออกไปครั้งเดียวแล้วทำธุระให้เสร็จทั้งหมด สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงคนให้มากที่สุด ส่วนการเรียนแบบออนไลน์มีปัญหาบ้างในเรื่องความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตภายในหอพัก วิชาส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนจากวิดีโอที่มีการอัดไว้ล่วงหน้า ไม่เหมือนกับการเรียนในห้องเรียนซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนิสิต”

กรดา บุญบุตตะ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์

“หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19  ก็ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก การเรียนการสอนออนไลน์ไม่มีปัญหาเพราะสามารถเรียนจากที่บ้านได้ ปกติก็คุ้นเคยกับการเรียนในรูปแบบออนไลน์อยู่แล้ว”

นิตยา จันทะศิลา นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาศาสตร์ 

“ผมกลับไปพักที่บ้านเพราะปลอดภัยกว่าการพักในหอพักซึ่งมีนิสิตอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดการระบาดของโรคนี้ทำให้ไม่ได้เจอเพื่อนๆ รู้สึกเงียบเหงา การเรียนออนไลน์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับตอนนี้ อาจารย์มีการเตรียมตัวสำหรับการสอนออนไลน์มาเป็นอย่างดี แต่นิสิตไม่สามารถถามตอบอาจารย์สดๆ ได้ ตอนนี้มีการคุยกับกลุ่มเพื่อนๆ ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับมาเรียนในห้องเรียน อาจารย์ก็ต้องวางแผนกันใหม่ในการจัดการเรื่องนี้เหมือนกัน”

อู่ข้าว อัจฉริยะโสภณ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์

“การใข้ชีวิตสถานการณ์เช่นนี้ต้องมีสติ มีความตระหนักในการรับฟังข่าวสาร โดยจะเลือกรับฟังข่าวจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติตัวในการใช้ชีวิตประจำวันจะหมั่นล้างมือด้วยแอลกอฮอล์ ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่มีคนเยอะๆ  การเรียนออนไลน์มีข้อดีคือไม่ต้องตื่นแต่เช้า ไม่ต้องเดินทาง แต่วิชาที่ปฏิบัติก็จะได้เรียนแค่ทฤษฎีเท่านั้น สำหรับมาตรการของหอพักนิสิตจุฬาฯ ที่ให้นิสิตสามารถกลับบ้านได้ถือว่าเป็นการดีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคได้ อยากให้มหาวิทยาลัยกำหนดเวลาว่าจะเปิดเรียนปกติได้เมื่อไหร่ เพราะก่อนขึ้นปี 3 จะต้องฝึกงาน จะได้วางแผนชีวิตได้ถูกต้อง”

ประภัสสร เพ็ดตะกั่ว นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะอักษรศาสตร์ 

“การที่หอพักนิสิตจุฬาฯ ให้นิสิตกรอกเอกสารสำหรับผู้ที่สมัครใจอยู่ต่อเป็นวิธีการที่ดี ซึ่งก็ต้องยินยอมทำตามมาตรการการป้องกันของหอพัก ปัจจุบันหอพักนิสิตยกเลิกการสแกนบัตรในลิฟต์และมีป้ายในลิฟต์ว่าให้งดคุยกัน ส่วนเจลล้างมือตามจุดต่างๆ หมดไปอย่างรวดเร็วและเริ่มไม่ค่อยมีเหลือแล้ว ทุกครั้งที่เข้าหอพักจะล้างมือ และเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดใหม่ ส่วนการเรียนออนไลน์ไม่ค่อยมีผลกระทบกับตัวเองเท่าใดนัก เพราะปกติก็เรียนทางออนไลน์หลายวิชาอยู่แล้ว แต่การเรียนออนไลน์ทำให้ไม่ค่อยมีแรงกระตุ้นให้เรียนเท่ากับไปเรียนที่คณะ”

มนัญชัย ไตรกิจวัฒนกุล นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า