รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ face shield จัดหาหน้ากากอนามัย PPE และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อบริจาคให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานที่มีความต้องการ พร้อมพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 ในรูปแบบ LAMP Test ที่สามารถรู้ผลได้จากการเปลี่ยนสีเพื่อเป็นทางเลือกในการตรวจคัดกรองโรคในอนาคต
รศ.ดร.ธีรพงศ์ บัวบูชา หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.กุลยา สมบูรณ์วิวัฒน์ รศ.ดร.เกื้อการุณย์ ครูส่ง และ ดร.กิตติคุณ วังกานนท์ เป็นตัวแทนทีมจิตอาสา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ และ face Shield รวมถึงการจัดหาหน้ากากอนามัย PPE และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อส่งไปยังโรงพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการ โดยเจลแอลกอฮอล์และสเปรย์แอลกอฮอล์เป็นสูตรถนอมมือ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 75% มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ วิตามินอี และสารให้ความชุ่มชื้นที่ไม่ทำให้ผิวแห้งเสีย โดยทางทีมจิตอาสาได้รับบริจาคทุนทรัพย์จากคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตเก่าภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป เพื่อจัดหาสารเคมี และวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ และ Face Shield นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชนร่วมสนับสนุนแอลกอฮอล์ และวัสดุที่ใช้ทำ Face Shield ส่วนหนึ่ง และภาควิชาฯ ยังเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมรวมหน้ากากอนามัย PPE และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีความต้องการ
“จุดเริ่มต้นของการผลิตเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์เริ่มจากการผลิตเพื่อให้นิสิตและบุคลากรในภาควิชาชีวเคมีใช้กันเองในช่วงที่มีการสอบกลางภาค ต่อมาเมื่อมีการระบาดของ COVID-19 จึงได้มีการผลิตจำนวนมากขึ้นเพื่อบริจาคให้โรงพยาบาล มูลนิธิและหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความต้องการ ทีมงานจิตอาสาที่ผลิตทั้งหมดเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตที่อยู่ละแวกใกล้เคียงซึ่งผู้ปกครองอนุญาตให้มาร่วมกิจกรรมนี้ โดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการของภาควิชาชีวเคมีในการผลิต เพื่อส่งทางไปรษณีย์ให้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดที่มีความต้องการ ปัจจุบัน ภาควิชาฯ ได้ส่งเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ไปให้โรงพยาบาล และหน่วยงานต่าง ๆ แล้วกว่า 55 แห่ง บางครั้งเมื่อทางโรงพยาบาลได้รับเจลแอลกอฮอล์ที่เราส่งไปให้ก็จะโทรมาขอบคุณหรือถ่ายรูปส่งมาให้ดู ทำให้รู้สึกมีกำลังใจ นอกจากเจลแอลกอฮอล์แล้วเราก็อยากทำอะไรให้มากขึ้นไปกว่านั้น” รศ.ดร.เกื้อการุณย์ กล่าว
นอกจากจิตอาสาในการผลิตเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์และจัดทำ Face Shield ซึ่งคณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ฝึกทำกันเองแล้ว ภาควิชาชีวเคมียังได้เริ่มทำโครงการพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 โดยนำสารคัดหลั่งของผู้ป่วยมาทดสอบในน้ำยาที่ภาควิชาฯ ได้พัฒนาขึ้น ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงก็สามารถรู้ผลได้จากการสังเกตสีที่เปลี่ยนไปบนอุปกรณ์เพื่อคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อและทำการตรวจสอบซ้ำในขั้นตอนต่อไป
“ชุดตรวจ COVID-19 ด้วยเทคนิควิธี RT-LAMP (เทคนิคการตรวจโดยอาศัยการเพิ่มขยายจำนวนของสารพันธุกรรมของไวรัสโดยการทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิคงที่) ที่มีความไวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับการตรวจด้วยเทคนิค RT-PCR แต่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าสามารถรู้ผลได้ภายใน 1 ชั่วโมง และ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าด้วย” รศ.ดร.กุลยา
“ชุดตรวจเบื้องต้น COVID-19 ที่ภาควิชาฯ กำลังพัฒนาขึ้นเป็นชุดตรวจสารพันธุกรรมว่าผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสชนิดนี้อยู่หรือไม่ หลายหน่วยงานมีการจัดทำชุดตรวจเชื้อ COVID-19 ในหลายรูปแบบ จุดแข็งของภาควิชาชีวเคมีคือเรามีความเชี่ยวชาญในการผลิตเอนไซม์ซึ่งเป็นงานด้านชีวเคมีโดยตรง จึงสามารถผลิตเอนไซม์ที่เป็นส่วนประกอบของชุดตรวจได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ชุดตรวจนี้จะทำให้การตรวจคัดกรองโรคทำได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ควบคุมโรคได้ดียิ่งขึ้น นอกจากจะใช้ตรวจเชื้อ COVID-19 ซึ่งน่าจะอยู่กับเราไปอีกนานพอสมควรแล้ว เรายังสามารถนำผลผลิตเอนไซม์ที่พัฒนาครั้งนี้ไปใช้ในพัฒนาชุดตรวจคัดกรองโรคอื่น ๆ ด้วยเทคนิค LAMP นี้ได้อีกด้วย” ดร.กิตติคุณ กล่าวเสริม
“ตอนนี้ใครหรือหน่วยงานไหนคิดค้นอะไรได้ก่อนก็นำออกไปช่วยคุณหมอก่อน เพราะการแพร่ระบาดของโรครอไม่ได้ ชุดตรวจ COVID-19 ที่เราพัฒนาขึ้นถือว่าเป็นแผนสำรองในการช่วยบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างการคิดค้นวัคซีนต้านโรคนี้ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน” ดร.กิตติคุณ กล่าว
“นอกจากชุดตรวจเบื้องต้น COVID-19 ที่ภาควิชาชีวเคมีกำลังดำเนินการพัฒนาอยู่ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 3 – 4 เดือนจึงจะสำเร็จ ทางภาควิชาฯ ยังได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการผลิตเอนไซม์สำหรับการพัฒนาชุดทดสอบ COVID-19 ในรูปแบบ RPA-CRISPR สำหรับใช้ตรวจวิเคราะห์โรค COVID-19 อีกทางหนึ่งด้วย” รศ.ดร.กุลยา กล่าว
สำหรับผู้สนใจร่วมสนับสนุนการจัดทำเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ Face Shield และจัดหาหน้ากากอนามัย ชุด PPE เพื่อบริจาคให้โรงพยาบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งสมทบทุนวิจัยชีวเคมีรวมใจต้านภัย COVID-19 สามารถติดต่อได้ที่อีเมล biochemscicu@gmail.com หรือคุณศิริพร ที่โทร. 0-2218-5416-17, 09-7026-1717 หรือ https://www.facebook.com/BCSCCU
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้