รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ นำนวัตกรรมจุฬาฯ สู่สังคม ผนึกความร่วมมือกับ Tigerplast ต่อยอดผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นหน้ากากผ้า Tigerplast MaskShield+ เพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเชื้อไวรัสโควิด-19 และฝุ่นจิ๋ว PM2.5 โดยได้จัดงาน “Chula Innovations for Society” พร้อมแถลงข่าวความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ Tigerplast ในการพัฒนานวัตกรรมสเปรย์เพิ่มประสิทธิภาพการกรองหน้ากากผ้า ป้องกันเชื้อไวรัสและกรองฝุ่น PM2.5 ภายใต้ผลิตภัณฑ์ “Tigerplast MaskShield+” ช่วยเสริมความมั่นใจให้ชีวิตในช่วง New Normal โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อวันอังคารที่ 30 มิถุนายน 2563 ณ ชั้น 3 Siam Innovation District (SID) สยามสแควร์วัน
ภายในงานมีการพูดคุยถึงแรงบันดาลใจในการต่อยอด Shield+ Technology โดย คุณพงศ์รัตน์ อรุณวัฒนาพร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด (มหาชน) การนำเสนอเบื้องลึกนวัตกรรม Tigerplast MaskShield+ และร่วมทดสอบประสิทธิภาพนวัตกรรม โดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ และ ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แนบโซลูท จำกัด
Shield+: Protecting Spray ผลิตภัณฑ์สเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้าป้องกันเชื้อไวรัสและฝุ่น PM2.5 เป็นผลงานวิจัยของ ผศ.ภญ.ดร.จิตติมา ลัคนากุล ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรม และเภสัช อุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ ภญ.พุทธิมน ศรีบนฟ้า ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท แนบโซลูท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพของจุฬาฯ เพื่อช่วยลดขยะที่เกิดจากการใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งและเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ที่ใช้หน้ากากแบบผ้าให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยสเปรย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองหน้ากากผ้า เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัส น้ำและละออง สารคัดหลั่ง ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ โดยพอลิเมอร์จะเข้าไปสอดประสาน เส้นใยของผ้า ช่วยลดช่องว่างระหว่างเส้นใยผ้าให้เล็กลง เพิ่มประสิทธิภาพในการกรองฝุ่นและเชื้อโรค จากการทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นพบว่าหน้ากากผ้าที่ผ่านการพ่นสเปรย์ด้วย Shield+ Protecting Spray เกิดการเชื่อมต่อของเส้นใยผ้ามากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน เพิ่มขึ้น 83% และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกรองเชื้อโรคในน้ำลายและในอากาศได้มากขึ้น 93% และ 142% ตามลำดับ โดย Shield+: Protecting Spray ทั้งชนิดไม่กันน้ำและกันน้ำ 1 ขวด มีปริมาณ 60 มิลลิลิตร สามารถใช้ได้ 24 ครั้ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์งานนวัตกรรมเพื่อสังคมไทย (Innovation for Society) โดยบริษัทสตาร์ทอัพของจุฬาฯ ภายใต้การบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) มุ่งพัฒนางานวิจัยโดยคำนึงถึงการตอบโจทย์ความต้องการแก้ปัญหาของสังคมเป็นสำคัญ นวัตกรรมสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า Shield+: Protecting Spray ภายใต้ความร่วมมือกับบริษัท แนบโซลูท จำกัด เป็นหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพของจุฬาฯ ที่ผ่านมาได้มีการแจกจ่ายสเปรย์จำนวน 10,000 ขวดให้บุคลากรในโรงพยาบาล ผู้คัดกรองผู้ป่วย คลินิกทันตกรรม รวมถึงอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานเก็บขยะ และพนักงานทำความสะอาด เพื่อใช้ป้องกันเชื้อโรคจากการปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับผลตอบรับอย่างดียิ่งจากบุคลากรที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง ล่าสุดนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดหน้ากากผ้าป้องกันไวรัสโควิด-19 ช่วยกรอง เชื้อโรคและฝุ่น PM2.5 ภายใต้ชื่อ Tigerplast MaskShield+ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์หลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เน้นการขับเคลื่อนสังคมด้วยนวัตกรรมและงานวิจัยที่ส่งผลกระทบสูง เพื่อความสำเร็จที่ก้าวกระโดดและยั่งยืน
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล”และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อาสาสมัครกาชาดจากจุฬาฯ ร่วมกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมแสดงผลงานแฟชั่นและสิ่งทอในงาน centralwOrld Thailand Graduate Fashion Week 2024
วิศวฯ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้