รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น
เมื่อชีวิตไม่ได้เพียบพร้อมและหนทางที่ไขว่คว้ามีแต่อุปสรรค จึงมีสองทางให้ก้าวเดิน คือเลือกที่จะสู้ต่อด้วยความหวังจนพบกับแสงสว่าง หรือก้มหัวรับชะตาด้วยความสิ้นหวัง หากเลือกทางเดินที่สอง จุฬาฯ คงไม่มีนิสิตที่น่าภาคภูมิใจที่ชื่อณรงค์ชัย แสงอัคคี เช่นวันนี้
ณรงค์ชัย แสงอัคคี หรือ บิ๊ก นิสิตชั้นปีที่ 2 เอกวิชาภาษาไทย สาขามัธยมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลพระราชทาน “ลูกที่มีความกตัญญูต่อแม่” ประจำปี 2563 และรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2562 นอกจากนี้เขายังมีความสามารถทางการใช้ภาษาไทย โดยได้รับรางวัลจากการประกวดในเวทีต่างๆ มาแล้วมากมาย เช่น รางวัลหนังสือดีเด่นแห่งชาติ เซเว่นบุ๊ค อวอร์ด ประเภทกวีนิพนธ์ ล่าสุดได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากผลงานรวมบทกวีเรื่อง “ใน (นัย) โลกใบน้อย” รางวัลยอดเยี่ยมโครงการรางวัลยุวศิลปินไทย Young Artist Award 2020 ประเภทวรรณกรรม (กวีนิพนธ์) แต่กว่าจะพบความสำเร็จในวันนี้ เขาต้องผ่านบททดสอบหลายด้านโดยมีแม่ของเขาเป็นต้นแบบ
บิ๊กเล่าให้ฟังถึงชีวิตในวัยเยาว์ว่า พื้นเพเดิมเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ครอบครัวของบิ๊กมีฐานะไม่ดีนัก แม่เป็นเสาหลักที่ต้องทำงานหารายได้จุนเจือครอบครัว ต่อมาเมื่อแม่ของเขาล้มป่วยลง บิ๊กจึงทำหน้าที่ดูแลแม่ตั้งแต่อายุ 8 ปี ซึ่งชีวิตในช่วงนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก แล้วแสงสว่างเล็กๆ ที่ทำให้เส้นทางชีวิตอันมืดมนเริ่มมีหนทางก็เกิดขึ้นที่โรงเรียน
“ตอนนั้นผมต้องเอาปิ่นโตไปที่โรงเรียนเพื่อนำอาหารกลับมาให้แม่ทานแล้วกลับไปเรียนต่อเป็นประจำ รวมทั้งเคยเคาะประตูบ้านของเพื่อนในสลัมเพื่อขอเงินไปเรียน พอโตขึ้นผมได้พบคุณครูที่ดีในทุกช่วงเวลาของชีวิต ช่วยให้ผมได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา คุณครูอบรมสั่งสอนผมในทุกมิติของชีวิต เปลี่ยนจากเด็กที่ไม่มีจุดหมายมาเป็นผู้ที่มีหลักยึดในการสร้างอนาคตที่งดงาม” บิ๊กเผยถึงช่วงชีวิตที่ยากลำบากในเวลานั้น
ความกตัญญูกตเวทีต่อแม่ ทำให้บิ๊กรู้สึกภาคภูมิใจที่ตัวเองสามารถดูแลผู้ที่ให้กำเนิดได้ในขณะที่แม่ยังมีชีวิตอยู่และรับรู้ความรักที่มีต่อกัน บิ๊กได้แนวคิดในการใช้ชีวิตจากแม่อย่างสมบูรณ์ “แม่จะทำให้ผมมีมุมมองที่ดี ในวันที่เราไม่มีอะไรและลำบาก แม่จะบอกผมเสมอว่ายังมีคนที่ลำบากกว่าเรา สิ่งที่แม่ให้ได้ก็คือร่างกายที่สามารถเดินได้ เขียนอ่านได้และมีอวัยวะสมบูรณ์เหมือนคนอื่น แต่สิ่งที่จะต้องไขว่คว้าและตามหาด้วยตนเองคือความฝันและการศึกษา”
จากชีวิตที่เคยหลงทาง บทเรียนชีวิตที่ทำให้เขาผ่านช่วงเวลานั้นมาได้คือ การมองเห็นคุณค่าในตัวเอง ปัญหาทั้งหมดเป็นเครื่องเตือนใจว่าเราไม่ควรให้ใครมาลดคุณค่าของชีวิต เราจะต้องประพฤติดีอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และไม่หยุดพัฒนาตนเอง
“สมัยก่อนผมไม่มีความอดทน อะไรมากระทบก็ร้องไห้ตลอด สิ่งที่ทำให้ผมอดทนและรักดีได้ก็คือแม่ของผม ทุกวันนี้ผมยังทำหน้าที่และดูแลแม่เหมือนเดิม นอกจากนี้ในแต่ละช่วงชีวิตของเขายังมี “ครู” เข้ามาเติมเต็มให้ชีวิตสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป้าหมายในการเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คือความฝันอยากเป็น “ครู” เหมือนเช่นครูในชั้นมัธยมที่อบรมสอนสั่งมา
“ผมเคยมีฐานะที่ยากจนและเกเรมาก่อน คุณครูเป็นผู้ขัดเกลาและดึงศักยภาพที่อยู่ในตัวผม ทำให้ผมรู้คุณค่าในตนเอง เพื่อที่จะสามารถยืนอยู่ในสังคมได้โดยไม่เป็นภาระของสังคม ผมจึงอยากเป็นเหมือนครูเพื่อสอนนักเรียนที่อาจจะอยู่ในสถานการณ์เดียวกับผม ให้ได้มีโอกาสอย่างที่ผมได้รับมา”
สุดท้าย บิ๊กฝากถึงทุกคนที่เจอสถานการณ์อันยากลำบากว่า “คนเราหลายคนมักจะมองปัญหาเหมือนลูกโป่งใบใหญ่ที่กำลังบังความสุขเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ข้างหลัง แค่ขยับปลายเท้า เปลี่ยนองศาการมองปัญหาตรงหน้า เราก็จะเห็นมุมมองที่กว้างกว่าและได้เห็นความสุขเบื้องหน้า ถ้าเราเข้าใจตนเอง ไม่ว่าปัญหาจะหนักแค่ไหนเราก็สามารถบอกตนเองเสมอว่าเราจะก้าวผ่านมันไปให้ได้”
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้