รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
อาจารย์สัตวแพทย์ จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ชีวภาพ ตั้งเวลานำส่งสารอาหารในร่างกายให้ได้ประโยชน์เน้นๆ สกัดจากสมุนไพร ปลอดภัยและได้ผล เพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทย
อาหาร ยา อาหารเสริม ไม่ว่าจะอวดสรรพคุณว่าดีแค่ไหน หากเข้าสู่ร่างกายแล้วถูกย่อยก่อนที่ร่างกายจะดูดซึมสารอาหารดีๆ เหล่านั้นเข้าไป ก็ไร้ประโยชน์ กลายเป็นความสิ้นเปลือง อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ ยะทา นักวิชาการประจำหน่วยชีวเคมี ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้วิจัย “หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทย” เพื่อแก้ปัญหานี้
“เราเรียกนวัตกรรมด้านโภชนาการนี้ว่าหุ่นยนต์ เนื่องจากกลไกอันชาญฉลาดของมันที่สามารถกำหนดเวลาปลดล็อกโพลิเมอร์ที่ห่อหุ้มผิวนอกของอาหารได้ในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผนังลำไส้ดูดซึมสารอาหารหรือตัวยาสำคัญที่ต้องการให้ร่างกายได้รับ ลดการสูญเสียคุณค่าทางอาหารระหว่างกระบวนการย่อยที่สารอาหารบางตัวอาจถูกทำลายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร” อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ อธิบายขยายความจากงานวิจัยเรื่อง “หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทย”
หุ่นยนต์ที่ว่านี้มีขนาดเล็กมาก เทคโนโลยีสำคัญที่ใช้คือการเคลือบหรือห่อหุ้มสารอาหารระดับอนุภาคนาโน ทั้งไมโครเอนแคปซูเลชัน (Microencapsulation) และนาโนเอนแคปซูเลชัน (Nanoencapsulation) ซึ่งป้องกันมิให้สารอาหารถูกทำลายระหว่างกระบวนการย่อยอาหารในกระเพาะ
วัสดุที่ใช้ในการแปรรูปเป็นหุ่นยนต์ชีวภาพผลิตจากโพลิเมอร์ธรรมชาติ ได้แก่ สาหร่ายทะเล เปลือกกุ้ง ปู ซึ่งราคาไม่แพง ปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ รวมถึงสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ส่วนผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในการห่อหุ้ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากขมิ้นชัน ใบบัวบก งาดำ และถั่งเช่า ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมส่วนเคลือบสมุนไพรนาโนนี้เข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตได้เช่นเดียวกับสารอาหารทั่วไป โดยไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อาจารย์ ดร. ธีรพงศ์ กล่าวเสริม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จดสิทธิบัตร “หุ่นยนต์ชีวภาพนำส่งสารสกัดจากสมุนไพรไทย” กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกวันนี้มีการนำหุ่นยนต์ชีวภาพไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มอาหารสุขภาพ อาหารฟังก์ชัน ซึ่งเป็นเทรนด์อาหารแห่งอนาคตที่มักเติมสารต่อต้านอนุมูลอิสระหรือวิตามินเพิ่มเข้าไป
“ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากหุ่นยนต์ชีวภาพ ที่จะช่วยปล่อยสารอาหารสำคัญให้ร่างกายดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณค่าทางอาหารไม่สูญเสียระหว่างทาง ทำให้ไม่ต้องบริโภคอาหารเสริมในปริมาณที่มากจนส่งผลเสียต่อตับ” อ.ดร.ธีรพงศ์ กล่าว
นอกจากนี้ ยังมีการนำหุ่นยนต์ชีวภาพไปใช้กับอาหารสัตว์ด้วย อย่างกรณีสัตว์ดื้อยาปฏิชีวนะ ก็จะใช้เคลือบสมุนไพรนาโนทดแทน เช่น น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) ที่กำหนดให้สารสำคัญออกฤทธิ์ตรงลำไส้ส่วนปลายของสัตว์ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อก่อโรค
อาจารย์ ดร.ธีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “หุ่นยนต์ชีวภาพยังเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการสมุนไพรไทยที่ต้องการหาจุดแข็งและจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาด ถือเป็นนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าให้แก่สมุนไพรทั้งในและนอกประเทศอีกด้วย”
จุฬาฯ จัดงาน Chulalongkorn University’s Open House for International Programs 2025 แนะนำหลักสูตรภาษาอังกฤษของจุฬาฯ สู่การเป็นผู้นำทางการศึกษาระดับนานาชาติ
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ปัตตานี คว้ารางวัลระดับชาติ โล่ประกาศเกียรติคุณ “ผู้มีคุณูปการต่อเยาวชนมุสลิมดีเด่นแห่งชาติ” สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ปีการศึกษา 2567
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้