ข่าวสารจุฬาฯ

หุ่นยนต์อัจฉริยะ PASS+ คงคุณค่าและความสดน้ำนมวัวจากฟาร์มถึงผู้บริโภค ลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกร

นักวิจัยจุฬาฯ ตอบโจทย์เกษตรกรโคนมรายย่อย เพิ่มเวลาขนส่งน้ำนมดิบคุณภาพ โดยไม่ต้องแช่เย็น ลดภาระค่าใช้จ่าย ถนอมคุณประโยชน์ของน้ำนมให้ผู้บริโภค

รายจ่ายในการขนส่งความสดของน้ำนมวัวจากฟาร์มไปยังศูนย์น้ำนมดิบเป็นภาระของเกษตรกรมาโดยตลอด เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จุลินทรีย์ในนมวัวจึงเติบโตได้เร็ว ส่งผลให้นมบูดเสียง่าย คนเลี้ยงวัวนมจึงต้องทำงานแข่งกับเวลา แถมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับการเก็บรักษาคุณภาพน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำตลอดทางระหว่างการขนส่ง

“นมวัวเสียง่ายมาก หลังจากที่เกษตรกรรีดนมมาแล้ว ต้องรีบนำมาแช่เย็น มิฉะนั้นจะเสียระหว่างทาง แล้วศูนย์น้ำนมดิบก็จะไม่รับซื้อเพราะซื้อไปก็เสี่ยงนมเสีย ทางเดียวตอนนี้ที่ทำกันอยู่คือการแช่เย็น ซึ่งราคาตู้แช่ก็สูง กลายเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของเกษตรกรฟาร์มนมวัว และก็ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อนมดื่มในราคาที่สูงขึ้นตามมา เรื่องนี้คือโจทย์สำคัญในการวิจัยของเรา“ เดวิด มกรพงศ์ นักวิจัยในหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงที่มาของโครงการประดิษฐ์คิดค้น PASS+

“นวัตกรรรมนี้ช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนมวัวด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกว่า UV ซึ่งจากผลการวิจัย เราพบว่า PASS+ ช่วยให้จำนวนจุลินทรีย์ลดลงได้ถึง 90% ทำให้นมไม่เน่าเสียแม้ไม่แช่เย็น และยังคงคุณประโยชน์ของน้ำนมได้ครบถ้วน” 

เดวิด ขยายความต่อไปว่าเมื่อน้ำนมวัวผ่านกระบวนการด้วยเครื่อง PASS+ แล้ว เกษตรกรฟาร์มโคนมจะมีเวลาในการขนส่งนานขึ้นอีกราว 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า ซึ่งเพียงพอต่อการถนอมคุณภาพอาหารระหว่างการเดินทาง 

“เมื่อเราสามารถรักษาความสดของน้ำนมไว้ได้นานขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความเย็น เราก็จะลดต้นทุนการผลิตด้านการขนส่งไปได้มาก เกษตรกรก็ไม่ต้องมีภาระซื้อตู้แช่เย็น รายจ่ายในการผลิตค่าขนส่งก็ลดลง ผู้บริโภคก็จะได้รับน้ำนมวัวที่สดใหม่ มีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลงกว่าเดิมด้วย”

ปัจจุบัน PASS+ ได้ขึ้นบัญชีเป็นนวัตกรรมไทยเรียบร้อยแล้ว และมีเกษตรกรรายย่อยหลายฟาร์มในเครือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ได้ทดลองใช้ PASS+ แล้ว ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ

 “นวัตกรรม PASS+ จะช่วยพลิกวงการฟาร์มโคนมได้อย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยได้มีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาคุณภาพน้ำนมจากฟาร์ม ผู้บริโภคจะได้ดื่มนมที่มีคุณภาพเยี่ยมในราคาที่ถูกลง” เดวิด กล่าวทิ้งท้าย  

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า