คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับบริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด พัฒนาสุขภาพและผลิตโคนม เชื่อมโยงสุขภาพผู้บริโภค

เมื่อวันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม 4 อาคารชัยอัศวรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คุณสลิลรัตน์ พงษ์พานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัทซีพี-เมจิ จำกัด และ รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร หัวหน้าโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย “โครงการส่งเสริมพัฒนาสุขภาพและผลผลิตโคนม เชื่อมโยงสุขภาพผู้บริโภค” พัฒนาขบวนการผลิตน้ำนมตลอดห่วงโซ่ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร มุ่งเป้าผลิตอาหารนมที่มีคุณภาพส่งต่อผู้บริโภค
การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ บริษัทซีพี-เมจิ จำกัด และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนมไทยและความปลอดภัยของผู้บริโภค และยังร่วมกันตั้งเป้าหมายในการขยายโครงการฯ อีก 150 ฟาร์ม ภายในปี 2566 คาดว่าจะมีประชากรแม่โครีดนมมากกว่า 3,000 ตัว มุ่งเป้าสู่ “การเป็นฟาร์มโคนมสุขภาพดีน้ำนมโคยอดเยี่ยม” ด้วยการจัดการข้อมูลการเลี้ยงอย่างเป็นระบบ นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างสมดุลของอาหาร การดูแลสุขภาพอย่างตรงจุดและสามารถวัดผลได้ พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และมาตรฐานของโครงการฯ สู่เครือข่ายเกษตรกรโคนมเป็นการยกระดับคู่ค้าผู้เลี้ยงโคนมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ตลอดจนร่วมกันสร้างผลผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ ส่งต่อนมโคที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภค








จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย