ข่าวสารจุฬาฯ

การจัดแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบ Smart Economy Showcase

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 มีนาคม 2564 ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) พร้อมด้วย รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารดีป้า ร่วมเปิดงานแสดงพื้นที่เศรษฐกิจอัจฉริยะต้นแบบ Smart Economy Showcase พื้นที่เขตปทุมวัน ณ สยามสแควร์วัน
ในงาน รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล บรรยายพิเศษเรื่อง “การพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ SAMYAN Smart City” โดยการพัฒนาพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่เมืองอัจฉริยะ ต้องคำนึงถึงความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่เป็นสำคัญ (Human Centric) และวิเคราะห์ถึงความต้องการและการแก้ปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีที่ตอบสนองความต้องการนั้นๆ อย่างเหมาะสม โดยการออกแบบพื้นที่ให้มีองค์ประกอบ Smart Environment, Smart Mobility, Smart Energy, Smart Living, Smart Economy และ Smart Governance ด้วยวิสัยทัศน์ในการพัฒนา SAMYAN Smart City ให้เป็นย่านที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตของคนทุกเพศทุกวัยอย่างยั่งยืน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงพัฒนาพื้นที่แห่งโอกาสที่มีการสร้างสภาพแวดล้อม หรือ ECO-SYSTEM ซึ่งเป็นปัจจัยเอื้อให้เกิดนวัตกรรม ได้แก่ CO-WORKING SPACE HUB, CU INNOVATION HUB, SIAM INNOVATION DISTRICT (SID), BLOCK 28 Startup village and sandbox ทำให้เกิดเป็นชุมชนที่รองรับธุรกิจดิจิทัลสตาร์ตอัพ สร้างการเชื่อมโยงและความร่วมมือทางธุรกิจ และพื้นที่นี้ยังเป็น LIVING LAB สนับสนุนเปิดโอกาสให้ดิจิทัลสตาร์ตอัพได้มาทดลองสิ่งใหม่ พร้อมพัฒนาเพื่อเติบโตเป็นธุรกิจที่สามารถตอบสนองทั้งสังคม ชุมชน และสามารถขยายผลทางธุรกิจให้เติบโตในแพลตฟอร์มใหม่ๆ อาทิ Muvmi (EV TUK-TUK SHARING) , HAUP CAR (Car-Sharing) , LEAF (EV Scooter sharing) , EVolt (EV Charging) , EVT (EV Shuttle Bus) , Banpu (Solar Rooftop), Meticuly (ผลิตภัณฑ์กระดูกไทเทเนียม) , Start Dee (Education Tech) ฯลฯ และให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการรายใหม่ในการสร้างธุรกิจและเติบโตเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยม เช่น Eveandboy, โอ้กระจู๋, SOS, Nice to Meat you เป็นต้น สนับสนุนให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในพื้นที่อีกด้วย

ทั้งนี้สามารถดูรายละเอียดเรื่อง “การพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ SAMYAN Smart City” ได้ที่ https://bit.ly/3lFX0Ze

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า