ข่าวสารจุฬาฯ

เปิดตัวโครงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ในการตรวจเชื้อโควิด-19 โดยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวโครงการพัฒนาวิธีการตรวจหาชิ้นส่วนของโปรตีนของโควิด-19 และโปรตีนตอบสนองการติดเชื้อในน้ำลายและจากตัวอย่างอื่นๆ ด้วยการใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ขั้นสูงโดยกระบวนการแมสสเปกโตรเมตรีซึ่งทำให้สามารถตรวจจับไวรัสได้ในตัวอย่างจำนวนมากโดยใช้เวลาไม่นาน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

จากการศึกษาตัวอย่างน้ำลายและตัวอย่างอื่นๆ จากผู้ติดเชื้อทั้งที่มีและไม่มีอาการ พบว่าสามารถตรวจพบโปรตีนจากไวรัสและโปรตีนตอบสนองต่อทั้งไวรัสโควิดสายพันธุ์ปกติ รวมทั้งสายพันธุ์อินเดีย อังกฤษและแอฟริกาใต้ได้ผลเป็นอย่างดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจด้วยพีซีอาร์ในตัวอย่างที่ได้จากการแยงจมูกและลำคอ แม้ในตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัสจำนวนไม่มากก็ตาม

กระบวนการวิเคราะห์และแปลผลทำโดยการประมวลข้อมูลจากปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อช่วยให้มีความสะดวกและตัดสินผลของการวิเคราะห์ได้โดยใช้เวลาไม่นาน และอยู่ในระหว่างการจดสิทธิบัตรโปรแกรม

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระบวนการดังกล่าวยังไม่ได้มีการนำมาใช้เป็นมาตรฐานในการวินิจฉัยในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทำการประเมินความไวและความแม่นยำในตัวอย่างที่มากขึ้น โดยจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ด้วยปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือเกิดความแม่นยำสูงสุด

ทั้งนี้ ด้วยจุดประสงค์ที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ และมีความสะดวกในการเก็บตัวอย่าง เช่น น้ำลาย ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทำให้เกิดความประหยัดในการตรวจคัดกรองคนจำนวนมาก เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม และองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้ยังคงสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์โรคระบาด

นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์โปรตีนยังสามารถนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการศึกษากลไกการตอบสนองทางร่างกายของผู้ติดเชื้อแต่ละราย และสามารถขยายขอบเขตในการวิเคราะห์วินิจฉัยโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ รวมทั้งกรณีโรคไม่ติดเชื้ออย่างอื่น อาทิ โรคสมองเสื่อมในแบบต่างๆ โรคในกลุ่มความผิดปกติของระบบเผาผลาญและภูมิคุ้มกันต่างๆ เป็นต้น



จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า