รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 ธันวาคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
นิสิตชมรม CUHAR คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาและพัฒนา “จรวดความเร็วเสียงเพื่องานวิจัย” ได้รับคัดเลือกเป็นนิสิตไทยทีมแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันจรวดความเร็วเสียงในระดับนานาชาติ รายการ “Spaceport America Cup 2022” ที่สหรัฐอเมริกา
สมาชิกชมรม CUHAR ซึ่งได้รับคัดเลือกเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้เป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 หลักสูตรนานาชาติ (International school of Engineering :ISE) สาขาวิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering) นำโดย ภูวิศ เชาวนปรีชา สิริวัชร์ สิริรัตนชัยกุล ภวินท์ กฤติยานิธิ พีรวิชญ์ จิระคุณากร พศิน มนัสปิยะ กฤตนุ หงษ์วิหค นิติพจน์ สืบพานิชย์ และภูวนัฏฐ์ พัทระฐวินัน
จุดเริ่มต้นในการพัฒนาจรวดความเร็วเสียงเพื่องานวิจัย
ภูวิศ เชาวนปรีชา Project Manager ประธานชมรม CUHAR และสิริวัชร์ สิริรัตนชัยกุล Project Engineer รองประธานชมรมฯ เปิดเผยว่า ในต่างประเทศมีชมรมเกี่ยวกับการสร้างจรวดเข้าร่วมการแข่งขัน และส่งจรวดขึ้นไปยังอวกาศ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีพื้นที่ให้นิสิตได้ทำโครงการในลักษณะนี้ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิศวกรรมอากาศยานจึงรวมตัวกันจัดตั้งชมรม CUHAR ขึ้น เพื่อรวบรวมสมาชิกที่มีความสนใจด้านจรวดและอวกาศสำหรับให้สมาชิกได้เข้ามาหาความรู้เกี่ยวกับจรวด และได้ลงมือออกแบบจรวดจริงๆ ซึ่งจะพัฒนาทักษะด้านการทำจรวดให้สมาชิกที่สนใจ
การแข่งขันจรวดความเร็วเสียง Spaceport America Cup 2022 น่าสนใจอย่างไร
Spaceport America Cup 2022 เป็นหนึ่งในการแข่งขันจรวดความเร็วเสียงที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2565 ที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการแข่งขันพัฒนาวิศวกรรมจรวดความเร็วเสียงที่ใช้ในงานวิจัยหรือทดสอบอุปกรณ์ต่างๆ มีนิสิตนักศึกษาจากสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 150 สถาบัน โดยผู้เข้าร่วมแข่งขันจะมีส่วนร่วมในการออกแบบ สร้าง และยิงจรวดความเร็วเสียง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การออกแบบ สร้างและยิงจรวดความเร็วเสียงในระดับความสูง 10,000 Feet และ 30,000 Feet โดยนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะเข้าร่วมแข่งขันในระดับความสูง 10,000 Feet
ขั้นตอนการพัฒนาจรวดความเร็วเสียง
เริ่มจากการหาข้อมูลจากทีมที่เคยเข้าร่วมแข่งขันมาก่อน เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการออกแบบจรวด โดยมีการศึกษาข้อดีและข้อเสียของแต่ละทีมเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในการพัฒนาจรวด จากนั้นจะศึกษากฎระเบียบข้อบังคับของการสร้างจรวดเพื่อความปลอดภัยในการปล่อยจรวด ต่อมาเป็นขั้นตอนของการออกแบบจรวด ตั้งแต่การเลือกรูปแบบจรวด ความยาว การออกแบบทุกชิ้นส่วนและรายละเอียดเพื่อนำไปเขียนแบบ จากนั้นจึงเป็นขั้นตอนการประกอบจรวดทั้งลำ ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการทดสอบจรวดทุกชิ้นส่วนเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงสุดในการทำงาน
จุดเด่นของทีม CUHAR ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ
นิสิตหลักสูตร ISE สมาชิกชมรม CUHAR ที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้ง 13 คน มีการแบ่งหน้าที่การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย ทีม Technical สำหรับดูแลเรื่องจรวดทั้งหมด ทีม PR ทีม Sponsor และ ทีม Visa ทุกคนในทีมมีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อเป้าหมายร่วมกัน แม้จะเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 ยังไม่ได้เรียนเนื้อหาที่ลงลึกเกี่ยวกับด้านจรวดมากนัก แต่การเรียนในหลักสูตรเป็นรูปแบบ Project-Base ทุกคนจึงมีประสบการณ์ในการออกแบบโปรเจคที่เกี่ยวกับวิศวกรรม ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ทำให้งานออกแบบเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ในการหาความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน ช่วยให้มีความรู้ในด้านนี้มากยิ่งขึ้น
ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ
ได้ใช้ความรู้ในด้านหลักการทางวิศวกรรมในการออกแบบสร้างและยิงจรวด ทุกขั้นตอนในการทำงานจะต้องมีเหตุผลรองรับ แสดงให้เห็นว่าจรวดที่เรานำไปแข่งขันมีความปลอดภัย และผ่านการทดสอบที่ครบถ้วน การได้เข้าร่วมแข่งขันในรายการนี้ถือเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญที่ได้ร่วมกันทำงานเป็นทีม และได้ประสบการณ์เรื่องการแบ่งเวลา หลังจากการเรียนในการทำโครงการนี้ การได้เป็นตัวแทนนิสิตไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติเป็นความภาคภูมิใจและเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว ในอนาคตทีมของเรามีเป้าหมายที่จะพัฒนาจรวดซึ่งเป็นงานที่เรารักและท้าทายความสามารถต่อไป
“ขอขอบคุณทุกคนในทีมที่มีเป้าหมายและพร้อมที่จะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาทุกท่านที่พร้อมช่วยเหลือเสมอพวกเรา ไม่ได้มุ่งที่ชัยชนะในการแข่งขัน หรือต้องได้ลำดับที่เท่าไหร่ แต่มองว่าสิ่งสำคัญที่มีค่าคือประสบการณ์ ความรู้ และความเข้าใจในการทำงานเป็นทีม นี่คือนิยามของความสำเร็จของพวกเรา” ภูวิทย์ และสิริวัชร์ตัวแทนชมรม CUHAR กล่าวในที่สุด
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้