รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 มกราคม 2565
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
19 – 25 ม.ค. 2565
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างที่ปรึกษาการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในโรงงานอุตสาหกรรม (CE Coach) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการยกระดับกระบวนการผลิตสู่ความยั่งยืนให้โรงงานทั่วประเทศ ด้วยการจับคู่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยและผู้ประกอบการธุรกิจระดับ SMEs เพื่อนำร่องสร้างต้นแบบโรงงานในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนด้านพลาสติกและฟอกหนัง
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 – 25 มกราคม 2565 ณ ห้องประชุมบุษบา โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ โดยมีนายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานและมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานและประกาศนียบัตรแก่ผู้ช่วยวิจัยที่เข้าร่วมโครงการ “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
โครงการอบรมดังกล่าวมี ดร.ภัสราพร พลับเจริญสุข เป็นหัวหน้าโครงการฯ ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) เป็นหัวหน้าโครงการย่อยที่ 1 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs” และ ผศ.ดร.กฤษณา ศิรเลิศมุกุล อาจารย์สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ เป็นหัวหน้าโครงการย่อยที่ 2 “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมฟอกหนังระดับ SMEs” โดยมีการบรรยายและนำเสนอวีดิทัศน์เยี่ยมชมโรงงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนในกระบวนการผลิต การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างแผนธุรกิจด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
สำหรับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจะมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากร รวมทั้งพลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการจัดการในรูปแบบหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถซ่อมแซมเมื่อชำรุดเสียหายและนำไปรีไซเคิลได้เมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยข้อมูลจากสถาบันพลาสติก ปี 2562 ระบุว่าประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกประมาณ 560,000 ล้านบาท และมีมูลค่าของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศมากถึงประมาณ 1,100,000 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 7.2 ของ GDP ของไทย โดยส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจระดับ SMEs ขณะที่ขยะพลาสติกกำลังเป็นปัญหาทั่วโลก โครงการนี้นับเป็นก้าวสําคัญเพื่อนําประเทศเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนตามนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องภายในประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยไปสู่ความยั่งยืน โดยในปีที่ผ่านมาโครงการฯ ได้สร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกจำนวนทั้งสิ้น 10 แห่ง และในปีนี้ได้ขยายผลโครงการฯ ด้วยการพัฒนาที่ปรึกษาเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 20 คน ให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการจัดทำแผนธุรกิจร่วมกับโรงงานที่ผ่านการคัดเลือกให้ร่วมโครงการฯ จำนวนอย่างน้อย 150 แห่งในปีถัดไป
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้