รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
อาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานๆ สร้างความทุกข์ทรมานให้กับร่างกายของมนุษย์ออฟฟิศเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องยากที่ทุกคนจะหลีกเลี่ยงได้ หากมีผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมแบบใช้ง่าย ได้ผลดี แทรกซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึงและตรงจุดจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนในวัยทำงานดียิ่งขึ้น
“แอม-ไฟน์” สเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม ด้วยเทคโนโลยีพฤกษานาโน (An Innovative PhytoNano-MyoSpray: A Pain Relief Spray from Nanostructured Lipid Carriers carrying Herbal Extracts) ผลงานของบุคลากรและอาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การันตีความสำเร็จของผลิตภัณฑ์โดยสามารถคว้าสองรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมระดับนานาชาติ ได้แก่ เหรียญทองจากรายการ “2021 Japan Design, Idea and Invention Expo (JDIE)” ประเทศญี่ปุ่น และเหรียญทองแดงจากรายการ “2021 Shanghai International Invention & Innovation Expo” ประเทศจีน เมื่อเร็วๆนี้
อ.ดร.ธีระพงศ์ ยะทา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัยและผู้ประกอบการ และอาจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นจากแนวคิดของบุคลากรในคณะที่ต้องการหาตัวช่วยในการแก้ปัญหาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน จึงนำปัญหานี้ปรึกษาร่วมกันจนพัฒนาเป็นสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อย โดยทีมวิจัยประกอบด้วย น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ นางอิญญา บินซัน และ ผศ.สพ.ญ. ศริยา อัศวกาญจน์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
น.ส.วราภรณ์ โชติสวัสดิ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย กล่าวถึงแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ว่า ทางคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นบุคลากรมักมีอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน รวมถึงมีความเสี่ยงกับการปวดเมื่อยจากภาวะออฟฟิศซินโดรม จึงมองหาวิธีบรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน รวมถึงคลายความเครียดและความวิตกกังวลจากอาการปวดเมื่อยที่เป็นอยู่ โดยมองหาสมุนไพรไทยที่หาได้ง่าย มีสรรพคุณลดการปวดตึงหรืออักเสบของกล้ามเนื้อ ในที่สุดได้ค้นพบว่า“น้ำมันหอมระเหยระกำ” มีสรรพคุณช่วยระงับอาการปวดชนิดใช้เฉพาะที่สำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะตึง เมื่อสเปรย์สัมผัสผิวหนังในครั้งแรกจะทำให้รู้สึกเย็น จากนั้นจะค่อยๆ อุ่นขึ้นซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ ส่วนสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งคือ “ผักคราดหัวแหวน” ซึ่งมีสารสกัดที่สำคัญคือ สารสปิแลนทอล (spilanthol) มีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ และยังมีฤทธิ์โดดเด่น ช่วยลดการอักเสบและลดการปวดกล้ามเนื้อได้ดี ทางทีมวิจัยจึงต่อยอดภูมิปัญญาไทย โดยนำสมุนไพรไทยทั้งสองชนิดนี้มาเป็นส่วนผสมและเตรียมในรูปแบบสเปรย์นาโนสูตรเย็น รวมทั้งมีการใช้นวัตกรรมการนำส่งด้วยนาโนเทคโนโลยีช่วยให้สมุนไพรออกฤทธิ์ได้ยาวนานขึ้น และบรรเทาภาวะปวดเมื่อยหรือตึงของกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
วราภรณ์เน้นว่านวัตกรรมระบบนําส่งด้วยนาโนเทคโนโลยี เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกุญแจสําคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์สําคัญต่างๆ ช่วยนำส่งสาระสำคัญจากตัวยาผ่านทางผิวหนัง ด้วยอนุภาคนาโนไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบอื่นๆ การใช้สารสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยระกำ และสารสปิแลนทอลจากผักคราดหัวแหวนร่วมกันส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษาหรือบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้เป็นอย่างดี ด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บระดับนาโน จึงทำให้ไม่เกิดการระคายเคือง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการซึมผ่านผิวหนัง ไม่ทิ้งคราบมันและไม่เหนียวเหนอะหนะ รวมทั้งยังส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่หาได้ง่ายในประเทศไทย โดย “ผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ มี 2 สูตร คือ สูตรร้อนและสูตรเย็น โดยสูตรร้อนได้เพิ่มสารสกัดจากพริกไทยดำลงไปด้วยเพื่อให้เกิดความรู้สึกร้อน ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้ตามความชอบ” วราภรณ์ กล่าวถึงสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยที่พัฒนาขึ้นมาในครั้งนี้
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ได้รับรางวัล
อ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวว่าสเปรย์ดังกล่าวมีความโดดเด่นในเรื่องการนำสมุนไพรไทยมาเป็นส่วนผสมโดยใช้นาโนเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างภูมิปัญญาไทยกับ Deep Tech พิสูจน์ให้เห็นว่าสมุนไทยมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเมื่อย และสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทย ผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์มีความแตกต่างจากสเปรย์บรรเทาอาการปวดเมื่อยทั่วไปที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันนวดธรรมดา ไม่มีเทคโนโลยีนาโนเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ใช้จะรู้สึกเหนอะหนะ และมีกลิ่นฉุน ในขณะที่จุดเด่นของแอม-ไฟน์อยู่ที่เนื้อสัมผัส และกลิ่นที่ต่างจากผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด เทคโนโลยีนาโนที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้สมุนไพรออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นและยาวนานขึ้น ฉีดพ่นนาน 5 -10 นาที อาการปวดเมื่อยจะบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัด
ความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์อยู่ในช่วงทดลองตลาด โดยมีการจำหน่ายในคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนเป็นยาสมุนไพรใช้แก้อาการปวดเมื่อย เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้วจะมีการวางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ รวมถึงร้านขายยา คาดว่าจะวางจำหน่ายได้ภายในปีนี้ ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่หน่วยชีวเคมี คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในราคา 299 บาท บรรจุขวดในปริมาณ 75 กรัม มีทั้งสูตรร้อนและสูตรเย็น กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์นี้คือคนทำงานที่มักมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานในออฟฟิศ รวมไปถึงนักกีฬา
แนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต
“คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีบริษัท Spin-Off ชื่อว่า VBC Kit Tech เพื่อผลิตนวัตกรรมจากการคิดค้นของคณาจารย์และบุคลากรภายในคณะ ซึ่งผลิตภัณฑ์แอม-ไฟน์ก็เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้สนใจ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ในเชิงพาณิชย์ได้ เป็นแนวคิดรูปแบบใหม่ในการทำวิจัยที่เกิดจาก Pain Point ของลูกค้าหรือผู้ที่มีปัญหาจริงๆ เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” อ.นพ.ธีระพงศ์ กล่าวในที่สุด
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
ความประทับใจของบัณฑิตจุฬาฯ ในรั้วจามจุรี และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรที่ภาคภูมิใจ
การประชุมวิชาการ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้