รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มีนาคม 2565
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีและวิศวกรรมเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Technology & Engineering Center – BCGeTEC) และภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดกิจกรรม
“CHULA Carbon Neutrality Competition” การแข่งขันแนวคิดเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ( carbon neutrality) เพื่อสร้างการตระหนักในการจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นผลกระทบสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลากหลายมิติ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 200,000 บาท รวมถึงประสบการณ์และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญมากมาย
– ฟังการบรรยายหัวข้อ “Bio-Circular-Green Economy and Policy” โดย ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สวทช. ภายใต้โครงการ Chula Carbon Neutrality sponsored ของศูนย์ BCGeTEC คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในวันเสาร์ ที่ 26 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 – 10.00 น. มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับนโยบาย Bio-Circular-Green Economy ในด้านต่างๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้กับแนวคิดที่ต้องการจะนำเสนอในการแข่งขันครั้งนี้
– เชิญร่วมการเสวนา “Chula Carbon Neutrality : Live session” ในวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 13.00 – 14.30 น. ผ่าน Facebook Live เพื่อให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันทราบรายละเอียด กติกาการแข่งขัน รวมไปถึงแนวทางการดำเนินงานด้าน Carbon Neutrality ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อช่วยจุดประกายไอเดียด้าน Carbon Neutrality ให้กับผู้ร่วมการแข่งขันทุกคน โดยได้รับเกียรติจากคณาจารย์จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญ ร่วมเสวนา ประกอบด้วย
ขอเชิญนิสิตจุฬาฯ ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา และนิสิตเก่าจุฬาฯ ที่สนใจเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ร่วมทั้งร่วมการสัมมนา รับฟังการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และเพื่อนๆ ร่วมโครงการอีกมากมาย รวมทั้งมีกิจกรรมการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เช่น BCG Economy Carbon Neutral Business Feasibility Carbon Footprint เป็นต้น
สามารถลงทะเบียนผ่าน QR Code บนโปสตอร์ หรือลงทะเบียนที่ https://forms.gle/rLavDCTSAazp9ZSP6
ติดตามรายละเอียดและการเปิดรับสมัครการแข่งขันเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/BCGeTEC , https://www.facebook.com/CUCarbonNeutral/
Instagram : https://www.instagram.com/chemengcu/ และทาง Website : http://chem.eng.chula.ac.th/
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคมไทย ‘ตายมากกว่าเกิด’: สิ่งนี้เป็นโอกาสหรือวิกฤตต่อความยั่งยืน
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Impactful Growth ในพื้นที่ จ.สระบุรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้