ข่าวสารจุฬาฯ

สำนักพิมพ์จุฬาฯ เปิดระบบพิมพ์อิงก์เจ็ตป้อนม้วนความเร็วสูง ตอบโจทย์รักษาสิ่งแวดล้อมยกระดับสำนักพิมพ์ฯสู่ต้นแบบธุรกิจยั่งยืน

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 ณ สำนักพิมพ์จุฬาฯ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดระบบพิมพ์อิงก์เจ็ตป้อนม้วนความเร็วสูง ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Digital Transformation เต็มรูปแบบของจุฬาฯ ในการผลิตสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ ตำราทางวิชาการ ด้วยเทคโนโลยีระดับ world class

            พิธีเปิดระบบพิมพ์อิงก์เจ็ตป้อนม้วนความเร็วสูง ณ สำนักพิมพ์จุฬาฯ ในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.พิมพ์พนา ศรีสวัสดิ์  รองอธิการบดี ด้านการเงินและการบัญชี จุฬาฯ  คุณฮิโรชิ   โยโกตะ  ประธานบริษัทและประธานกรรมการบริหาร บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด คุณอุย ชิค โฮ  รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์บิสซิเนสอิมเมจจิ้งโซลูชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด นายณัฐพล รุ่งสมบูรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์ โปรเฟสชั่นแนล พริ้นติ้ง โปรดักส์ บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด พร้อมด้วย รศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์จุฬาฯ รศ.มล.สาวิกา อุณหนันท์ กรรมการบริหารสำนักพิมพ์จุฬาฯ และนางอรทัย นันทนาดิศัย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์จุฬาฯ ร่วมในงานครั้งนี้

ระบบพิมพ์อิงก์เจ็ตป้อนม้วนดังกล่าวมีความเร็วสูง 100 เมตรต่อนาที พร้อมหน่วยตัดและเก็บเรียงอัตโนมัติ ตอบโจทย์การบริการของสำนักพิมพ์จุฬาฯ ให้ดีขึ้นทั้งคุณภาพงานพิมพ์ ความรวดเร็ว และราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดงานพิมพ์ เทคโนโลยีนี้จะช่วยลดจำนวนพนักงานในการปฏิบัติงาน นำเสนอรูปแบบใหม่ในการบริการงานพิมพ์ที่เรียกว่า On-demand printing สามารถผลิตงานตามจำนวนที่ต้องการได้โดยไม่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังตอบโจทย์รักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี พร้อมยกระดับสำนักพิมพ์จุฬาฯ ไปสู่ต้นแบบของธุรกิจยั่งยืน ด้วยการใช้หมึกพิมพ์ฐานน้ำในการผลิตหนังสือ เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์พ่วงต่อใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ รวมถึงการสูญเสียกระดาษในระหว่างพิมพ์ยังเป็นศูนย์ ทำให้ดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Performance Index, EPI) ของสำนักพิมพ์จุฬาฯ อยู่ในระดับสูงทั้งในด้านสุขภาวะ (Environmental Health) และความสมบูรณ์ของนิเวศวิทยา (Ecosystem Vitality) ด้วยการลดค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณสารไอระเหยง่าย (VOCs) และของเสียได้อย่างเป็นรูปธรรม

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า