รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์ / Thitirat Somboon
29 ก.ค. - 27 ก.ย. 65
ณ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ร่วมกับภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดนิทรรศการ “ใครสร้างคำ คำสร้างใคร” ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 27 กันยายน 2565 ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 ห้องนิทรรศการหมุนเวียน อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการในวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 น.
จุดเริ่มต้นของนิทรรศการ มาจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ “คำ” กล่าวคือเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานและร่วมอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมทางวิชาการของชมรมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นถึงความสนพระราชหฤทัยในการใช้ภาษาไทย ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ และในปี 2565 ถือเป็นปีครบรอบ 60 ปีที่เสด็จพระราชดำเนินมายังคณะอักษรศาสตร์และร่วมประชุมในเรื่องดังกล่าว
นิทรรศการ “คำสร้างใคร” ถ่ายทอดความสัมพันธ์ระหว่างคำกับการนำเสนอตัวตนของคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนในวัฒนธรรมย่อยที่สร้างปรากฏการณ์ทางภาษาในโลกยุคดิจิทัลอย่างน่าสนใจ ในท้ายที่สุด คำถามที่ว่า “ใครสร้างคำ คำสร้างใคร” ไม่ได้มีคำตอบที่สำเร็จรูปเพียงหนึ่งเดียว หากแต่เป็นคำถามที่ชวนให้ขบคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง “คนไทย” กับ “คำไทย” ต่อไปอย่างไม่รู้จบ
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
ปิดให้บริการ วันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดราชการ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ โทร.0-2218-3645-6
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้