เปิดเทอมแล้ว จุฬาฯ 1 – 2 – 3 ชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ จัดการโควิดง่ายๆ

สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่น่าวางใจ แม้จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่ทุกคนยังคงต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันตนเองและคนรอบข้างจากโรคนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ จัดการกับโควิด-19 ด้วยวิธีง่ายๆ 3 ข้อดังนี้
ทานอาหาร
1. ทานจริงๆ ไม่คุยกัน
2. ทานเสร็จ คุยได้ แต่ใส่มาสก์
3. ทิ้งขยะ รวมทั้งอาหารในที่ที่จัดให้.

อยู่ในที่แคบๆ (โดยเฉพาะในลิฟต์)
1. ใส่มาสก์
3. อดใจ ไม่คุย
3. ไม่ทาน ไม่ดื่ม

ถ้า ATK เป็นบวก
1. ส่งภาพ ATK ถ่ายคู่กับบัตรประจำตัว และข้อมูลวันที่ตรวจพบ ให้หัวหน้าหน่วยงาน หรือฝ่ายกิจการนิสิตของคณะทราบ
2. กักตัว 7 วัน (WFH หรือ เรียน On-line) และเฝ้าระวังอีก 3 วัน (ทำงาน / เรียน On-site ได้) โดยนับวันที่ตรวจพบเป็นวันที่ 1
3. สังเกตอาการตาม
https://www.facebook.com/thaimoph/photos/a.117672836509295/365181105091799/?type=3
* ถ้าต้องการใบรับรองแพทย์ ติดต่อศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ หรือโรงพยาบาลตามสิทธิ์การรักษา.

ใกล้ชิดผู้ป่วย เสี่ยงไหม?
1. จะเสี่ยงสูงเมื่ออยู่ในที่ปิดร่วมกับผู้ติดเชื้อโดยไม่ใส่มาสก์ทั้ง 2 ฝ่ายเกิน 10 นาที ยิ่งถ้าพูดคุยกันในระยะใกล้กว่า 1.5 เมตร เกิน 5 นาทีก็ยิ่งเสี่ยง
2. เมื่อรู้ว่าเสี่ยงสูง ให้แยกทานข้าวจากคนอื่น แยกห้องนอน และตรวจ ATK ในวันที่รู้ และวันที่ 5 หลังใกล้ชิด
3. ถ้าใส่มาสก์ตลอดเวลาทั้ง 2 ฝ่าย ถือว่า “เสี่ยงต่ำมาก”

.
ช่วงกักตัว
1. ให้กักตัวเคร่งครัด
2. ถ้าจำเป็นจริงๆ สามารถออกไปซื้อของหรือไปตรวจได้ แต่ต้องระวังการแพร่เชื้ออย่างเต็มที่
3. หลังกักตัว 7 วัน ยังต้องใส่มาสก์ และระวังการแพร่เชื้ออย่างเคร่งครัดเพิ่มอีก 3 วัน

.
เข้าชั้นเรียน
- ใส่หน้ากากเสมอ
- เว้นระยะห่าง ล้างมือ
- ปฏิบัติตามนโยบายของคณะ



จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย