รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 สิงหาคม 2565
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับบริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และเปิดตัวนวัตกรรมองค์ความรู้หลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke ซึ่งเป็นบทเรียนที่ให้ความรู้ทางด้านการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ด้วยนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore ในรูปแบบ Virtual Reality เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพเสมือนจริงและเกิดการเรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด
รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีเป้าหมายร่วมกันที่จะเป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานในระดับสากล อีกหนึ่งโจทย์สำคัญคือการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงแหล่งความรู้ ซึ่งเห็นได้ว่าในปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะห้องเรียนหรือห้องสมุด แต่คลังความรู้ในยุคปัจจุบันที่สำคัญและเข้าถึงง่ายที่สุดคือคลังความรู้ออนไลน์ โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มุ่งมั่นสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาเป็นตัวช่วยในการรักษาผู้ป่วยให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพและสะดวกยิ่งขึ้น
การเรียนรู้ในปัจจุบัน แพทย์ นิสิตนักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อให้ก้าวทันต่อนวัตกรรมและความทันสมัยของข้อมูลการรักษาหรือข้อมูลทั่วไปของวงการทางการแพทย์ ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จึงได้สร้าง Online learning platform ในชื่อ “MDCU MedUMore” เพื่อตอบโจทย์และตอบสนองโลกแห่งการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พร้อมข้อมูลที่ครอบคลุม สามารถเรียนรู้และเข้าถึงได้จากทุกที่บนโลกนี้
หลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke จะถูกถ่ายทอดสู่แพลตฟอร์ม MDCU MedUMore สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการเพิ่มมิติในการเรียนรู้สามารถเข้าเรียนได้ผ่านระบบรองรับ Virtual Reality (VR) ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็นภาพเสมือนจริง และผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ทางการแพทย์อย่างไร้ขีดจำกัด ทั้งนี้ MDCU MedUMore ถือเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างครบถ้วน ทุกมิติทางการเรียนรู้และทันสมัย รวมถึงเนื้อหาเพื่อการพัฒนาตนเองที่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้โดยง่าย มีองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่รองรับสำหรับแพทย์ พยาบาล เภสัชกร บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงภาคประชาชนทั่วไป
คุณรานีวรรณ รามศิริ Vice President and Managing Director Thailand บริษัท เมดโทรนิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เมดโทรนิคเป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 20 ปี เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยมีพนักงานมากกว่า 90,000 คนทั่วโลก เพื่อช่วยนำเทคโนโลยีสุขภาพระดับโลก ส่งให้ถึงมือของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาคนไข้ในประเทศไทย ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การรักษาที่มีประสิทธิภาพ และบริการที่ดีที่สุด ใน 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ Cardiovascular Essential, Cardiac Rhythm Management & Diagnostics service, Surgical Innovations และ NeuroScience & Emerging Business ตั้งแต่ปี 2544 บริษัทฯ มุ่งที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐและผู้ให้บริการด้านสุขภาพในทุกภาคส่วนผ่านหลากหลายโครงการความร่วมมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทางการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล
ในปี 2565 เมดโทรนิค (ประเทศไทย) มีเป้าหมายในการร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในการร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ MDCU MedUMore เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าถึงการเรียนรู้สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเริ่มความความมือกับ ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จากศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผศ.นพ.จาตุรนต์ ตันติวัตนะ หัวหน้าภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.นพ.วสันต์ อัครธนวัฒน์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในการจัดทำหลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke โดยการเรียนรู้ด้วย VR เพื่อให้ผู้เรียนได้สัมผัสและได้รับประสบการณ์เสมือนจริงในการเรียนรู้โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นโรคที่มีความสำคัญและเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยอย่างยิ่ง ปัจจุบันหัตถการ thrombectomy ถือเป็นนวัตกรรมการรักษาที่มีความสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นหัตถการที่ได้รับการส่งเสริมจากทางภาครัฐในการเบิกจ่ายอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการทำหัตถการ และทางบริษัทมีความภูมิใจที่จะนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาทักษะการทำหัตถการและการใช้เครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงสุดผ่านระบบ Virtual Reality (VR) ที่จะมอบประสบการณ์ที่แปลกใหม่ในการเรียนรู้ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการอบรมที่มีคุณภาพของคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ห่างไกล ให้สามารถเรียนรู้ได้เสมือนอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้ ทั้งนี้ยังมองเห็นโอกาสในการต่อยอดความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อพัฒนาหัตถการทางการแพทย์ที่สำคัญอื่น ๆ ในอนาคต
ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อดีตหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ซึ่งเป็นสาเหตุของความพิการระยะยาว และการเสียชีวิตของประชากรจำนวนมากจากข้อมูลขององค์กรโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization) พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองทั่วโลกกว่า 80 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5.5 ล้านคนต่อปี และยังพบผู้ป่วยใหม่ถึง 14.5 ล้านคนต่อปี ทุก ๆ 4 คน จะป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน ร้อยละ 80 ของประกรโลกมีความเสี่ยง ซึ่งสามารถป้องกันได้ สำหรับในประเทศไทยโรคหลอดเลือดสมองโลกเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของความพิการและเสียชีวิตอันดับ 1
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองในปัจจุบัน คือการใส่อุปกรณ์ผ่านสายสวนหลอดเลือดเพื่อไปนำลิ่มเลือดที่อุดตันออกจากหลอดเลือดสมอง แพทย์จะทำหัตถการสอดใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดง ผ่านบริเวณขาหนีบจนไปถึงตำแหน่งที่อุดตัน และนำเอาลิ่มเลือดที่อุดตันตามหลอดเลือดออกมา ซึ่งพบว่าผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียงไม่กี่วันก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองคือ “เวลา” ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้เร็วเพียงใด ก็ยิ่งจะทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดสมองมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันการรักษานี้ยังไม่แพร่หลายนัก ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญที่ยังมีจำกัด หรือโรงพยาบาลที่มีความสามารถและความพร้อมที่เพียงพอ
“คาดว่าหลักสูตร Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke บนแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งบุคลากรทางการ แพทย์ฝ่ายต่าง ๆ ที่สนใจศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคหลอดเลือดสมองสามารถใช้ในการทบทวนองค์ ความรู้และความเข้าใจในเบื้องต้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้บริการ เสริมความพร้อมของโรงพยาบาลในการเริ่มต้นทำหัตถการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา หรือการนำความรู้ไปอธิบายคนไข้และคนใกล้ชิด” ศ.พญ.นิจศรี กล่าว
ทั้งนี้ ภายในงาน ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการ ได้นำเสนอวิธีการเข้าเรียนในหลักสูตรบทเรียน Introduction course for Thrombectomy treatment in Acute Ischemic Stroke ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore และเชิญชวนทุกท่านที่สนใจสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้เสมือนจริง ลงทะเบียนและขอรับบริการได้ผ่านแพลตฟอร์ม MDCU MedUMore https://www.medumore.org/course/Stroke-part-ii
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
โครงการ “เล่นเพลิน” ต้อนรับปิดเทอมสำหรับน้อง ๆ ปฐมวัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้