รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 สิงหาคม 2565
ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
เมื่อวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 ณ ห้องจูปิเตอร์ 12-13 อาคารชาเลนเจอร์ 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ และศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษาและนวัตกรรมทางสังคม สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จัดการประชุมเสวนาสาธิต “พัสตรา มารดา แผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา
โดยมี คุณสมคิด จันทมฤก อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และสนับสนุนให้กิจกรรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน “ศิลปาชีพประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมีปี 2565” โดยมี อ.เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยแสดงปาฐกถาเรื่อง ศิลปาชีพในมิติการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน จากนั้นเป็นการเสวนาเรื่อง ดอกผลแห่งการพัฒนา “คุณ–ค่า” ของศิลปาชีพสู่คนรุ่นใหม่โดย ทายาทผู้สืบทอดภูมิปัญญาและองค์ความรู้จากงานศิลปาชีพ นอกจากนี้ยังมีการสาธิตการแต่งกายสวมใส่ด้วยผ้าไทย ให้สวยงามทันสมัย ในแนวคิด “ใส่ผ้าไทยง่ายนิดเดียว” โดย อ.ปรุฬห์ลภย์ พฤกษ์โสภี และคุณณัฐภูมิ ผิวอ่อน จากสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การประชุมเสวนาสาธิต“พัสตรา มารดา แผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา
จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพให้กับราษฎร บทบาทของศูนย์ศิลปาชีพฯ ในการสืบสานและต่อยอดงานหัตถศิลป์ไทยสู่วัฒนธรรมสากล ส่งเสริมให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของงานศิลปหัตถกรรมไทยในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและประยุกต์ใช้ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนาความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยเกิดความยั่งยืน
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้