รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 สิงหาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเปิดตัวโครงการ Chula Global Innovation Club (CGIC) ในรูปแบบของ Virtual Event ในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 20.30 – 23.05 น. เวลาประเทศไทย (9.30 – 12.05 น. เวลา กรุงวอชิงตันดีซี) เพื่อช่วยผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการลงทุนใน CU Spin-offs โดยตั้งเป้าที่จะสร้างเม็ดเงินลงทุน ไม่น้อยกว่า 10,000,000 เหรียญสหรัฐ (USD) และสร้างเครือข่ายที่ปรึกษาระดับโลก (Global Mentors) จำนวนไม่น้อยกว่า 50 คนที่จะมาช่วยผลักดันและสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจฐานนวัตกรรมจุฬาฯ (Chula Spin-offs)
ภายในงานจะมีการเปิดตัวกิจกรรมแรกที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง CGIC และบริษัท Chim Media ภายใต้ชื่อ “Chimnovate Hackathon 2022” ซึ่งมาใน Theme ของ Virtual Restaurants เพื่อฟื้นฟูและยกระดับทูตด้านอาหาร (Gastrodiplomacy) ของไทย พร้อมกับการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อให้ข้อมูล แนวคิดสำคัญเพื่อต่อยอดกิจกรรม Hackathon ที่จะถูกจัดขึ้น
ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในงานเปิดตัวโครงการ CGIC สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ cuglobalinnovation.club@gmail.com
โครงการ Chula Global Innovation Club (CGIC) ดำเนินการบริหารโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย โดยตลอดระยะเวลาร่วม 6 เดือนที่ผ่านมา ทาง CGIC ได้ดำเนินการผสานความร่วมมือ ผนึกกำลังกับหน่วยงานรัฐของไทยหลายแห่ง อาทิ สถานทูตไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา สถานทูตไทยในกลุ่มประเทศ Nordic กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) บริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จํากัด สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพนวัตกรรมของไทย และบรรลุเป้าหมายของโครงการที่กำหนดไว้ซึ่งตอบรับและสอดคล้องโดยตรงกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 3 เป้าของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ได้แก่ การเพิ่ม GDP ของประเทศให้เติบโตขึ้นร้อยละ 2 การมีวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมจำนวน 1,000 ราย ทั้ง Smart SME/Startup ที่มีรายได้อย่างน้อยรายละ 1 พันล้านบาท และพัฒนาประเทศไทยให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้โดยที่มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้น โดยเพิ่มจำนวนบริษัทยูนิคอร์นให้ได้ 5 บริษัท
กิจกรรมหลักสำคัญภายใต้การดำเนินการของCGIC จะมุ่งเน้นการสนับสนุนกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพผ่านกิจกรรมแบบเต็มรูปแบบ ทั้งกิจกรรมนำเสนอแผนธุรกิจและระดมทุน (Pitching & Fund Raising) จากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเร่งการเติบโตให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพจากงานวิจัยของจุฬาฯ กิจกรรมการจับคู่พันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership Matching) เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถขยายตลาดออกสู่สากลและเกิดคู่ค้าทางธุรกิจ กิจกรรม Roadshow เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เพิ่มมากขึ้น ประชาสัมพันธ์และสร้างแบรนด์ และกิจกรรม Hackathon เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และ Mentor
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้