รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กันยายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
ดร.พรพิมล มะหะหมัด ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) พร้อมด้วยนางสาวซูไนนี มาหะมะ เจ้าหน้าที่บริการวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่วิทยากรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การทดสอบการปนเปื้อนดีเอ็นเอสุกรในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์” จัดโดย COMSTECH และ SMIIC ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามในยูกันดา เมื่อวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ ห้องปฏิบัติการแห่งชาติ The National Agriculture Research Organization (NARO) เมืองกาวันดา ประเทศยูกันดา มีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวนทั้งสิ้น 30 คน จาก 13 ประเทศ ได้แก่ Uganda, Nigeria, Kenya, Tanzania, Rwanda, Burundi, Cameroon, Mali, Côte d’Ivoire, Gambia, Senegal, Somalia, และ Benin วัตถุประสงค์ของการอบรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลของประเทศไทย รวมถึงการสาธิตให้เห็นถึงการดำเนินงานที่สามารถบูรณาการนิติวิทยาศาสตร์และการมาตรฐานเข้ากับกระบวนการตรวจสอบรับรองทางศาสนา
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนด้านเทคนิคของสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาสำหรับประเทศมุสลิม (The Standards and Metrology Institute for Islamic Countries – SMIIC) ภายใต้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศอิสลาม (Organization of Islamic Cooperation-OIC) ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอสุกรในผลิตภัณฑ์อาหารให้กับนักวิทยาศาสตร์ในกลุ่มประเทศแอฟริกา หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมนี้คือ SMIIC ร่วมกับคณะกรรมการถาวรเพื่อความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Ministerial Standing Committee on Scientific and Technological Cooperation – COMSTECH) อันเป็นผลจากปฏิญญาอะบูดาบี ในการประชุมผู้นำ OIC ครั้งที่ 2 ที่ให้พัฒนาขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศสมาชิกที่พัฒนาระดับต่ำ (The Least-Develped Countries – LDC) (ข้อ#32)
การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมอบรมให้ความสนใจและตั้งใจอย่างดียิ่ง โดยมุ่งหวังที่จะนำเทคนิคไปใช้ในงานพัฒนาด้านมาตรฐานฮาลาลในประเทศของตนเอง ทั้งนี้ พัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย ศวฮ. ที่ยกระดับถึงนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลที่เรียกว่า HAFOLAB (Halal Forensic science Laboratory) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017 และ ISO9001:2015 ได้รับการยกย่องอย่างมาก
ในการนี้ ได้มีการประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้นำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการนานาชาติด้านฮาลาล “Thailand Halal Assembly 2022” ซึ่งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 โดยผู้เข้าร่วมอบรมแสดงความสนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการ คาดหมายว่าในปีนี้จะมีผู้เข้าร่วมจากทวีปแอฟริกามากขึ้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ชื่นชมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมฮาลาล
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมมือ สสส. – พม. สานพลังภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนงานคนไร้บ้าน
โครงการ Dogcoola กิจกรรมดี ๆ ที่สร้างสรรค์โดยนิสิตสัตวแพทย์ จุฬาฯ เชิญชวนบริจาคโลหิตช่วยชีวิตคนและส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ครั้งที่ 24 Public Health 360: From Policy to Practice
เชิญร่วมกิจกรรม Chula Lunch Talk : GenAI x งานวิจัย: 1 ปี ที่เปลี่ยนไป! ความท้าทายใหม่ ที่นักวิจัยต้องรู้
CU Top 10 News กรกฎาคม – กันยายน 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้