ข่าวสารจุฬาฯ

โครงการ Special LawLAB “การสืบสวนสอบสวนยุค 5G” ความร่วมมือระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติและคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัวโครงการ Special LawLAB “การสืบสวนสอบสวนยุค 5G” ซึ่งเป็นโครงการนำร่องศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง หรือ Young Lawyers – Police Engagement Pilot Project  โดยคัดเลือกนิสิตชั้นปีที่ 2 – 4 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เข้าฝึกอบรมภาควิชาการและภาคปฏิบัติกับตำรวจใน 6 หน่วยงาน ประกอบด้วย กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สน.พญาไท สน.ห้วยขวาง สน.บางเขน สน.บางนา และ สน.พระโขนง

เมื่อวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ  พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมพิธีเปิดโครงการ Special LawLAB “การสืบสวนสอบสวนยุค 5G”  ซึ่งจัดโดยกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และกองบัญชาการศึกษา (บช.ศ.) มีนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 25 คนผ่านการคัดเลือกเข้าฝึกอบรมในโครงการนี้

 

ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า โครงการ Special LawLAB โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความสอดคล้องกับโครงการ LawLAB ของคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ  โครงการนี้เปิดโอกาสให้นิสิตได้ฝึกปฏิบัติงานด้านสืบสวนสอบสวนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจากประสบการณ์จริง ช่วยให้นิสิตที่จะจบออกไปเป็นนักกฎหมายยุคใหม่ เข้าใจชีวิตการทำงานจริง นำประสบการณ์มาต่อยอดพัฒนากฎหมายในอนาคต ขณะเดียวกันยังทำให้ตำรวจเข้าใจประชาชนผ่านนิสิตซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างในช่วงวัย และสภาพสังคม

ผศ.ดร.ปารีณา กล่าวต่อไปว่า โครงการนำร่องนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้เรียนรู้และฝึกฝนเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ในการค้นหาและพัฒนาตัวเอง แต่ยังช่วยให้นิสิตในฐานะนักกฎหมายรุ่นใหม่ในอนาคตได้เข้าใจชีวิตการทำงานจริงจากการติดตามและฝึกปฏิบัติงานกับครูพี่เลี้ยง เพื่อจะมาต่อยอดความคิดในการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่สะท้อนความเป็นจริงได้อย่างรอบด้านต่อไป ที่สำคัญยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ ในการเปิดมิติใหม่ของการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามแนวทางเป้าหมายที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ SDG Sustainable Development Goals ข้อที่ 16 และข้อที่ 17 ในการสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการยุติธรรมผ่านการทำงานร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มเยาวชน

“การทำงานร่วมกับเยาวชนในลักษณะเครือข่ายหรือ Partnership นั้น เริ่มเห็นบ้างในประเทศอังกฤษซึ่งได้พัฒนา “Youth Commission Model on Police and Crime” ขึ้นเพื่อให้เยาวชนได้เข้ามามีส่วนปฏิบัติงานจริงร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภายใต้ The Police and Social Responsibility Act  ซึ่งจากการวิจัยพบว่าแม้สังคมโดยทั่วไปยังมองว่าเยาวชนอาจอ่อนด้อยในเรื่องวุฒิภาวะ แต่เมื่อยอมเปิดใจร่วมทำงานกับนิสิตนักศึกษาแล้วพบว่า เยาวชนเหล่านั้นต่างมีทักษะและความสามารถที่จะช่วยเกื้อกูลการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะในสังคมยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็วได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ก็ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าใจมุมมองของเยาวชนซึ่งเสมือนกลุ่มตัวอย่างประชาชนอีกด้วย”  คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯกล่าวในที่สุด

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า