ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ – MEA ร่วมลงนามสัญญาต่างตอบแทน โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

เมื่อวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 ณ ห้องสัมมนา 1 ชั้น 12A อาคาร B การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ คลองเตย คุณจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA)  และ รศ.ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ (PMCU) ร่วมลงนามสัญญาต่างตอบแทนโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารพื้นที่ทดสอบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงานของมหาวิทยาลัย (Sandbox) ระหว่างการไฟฟ้านครหลวงกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั

            คุณจาตุรงค์ สุริยาศศิน รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง  กล่าวว่า MEA พร้อมขับเคลื่อนการสนับสนุนด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) ตามนโยบายรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย MEA เป็นผู้ลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคาร ในพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้น 6 อาคาร ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 678.78 kWp และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าตลอดอายุโครงการทั้งสิ้น 20 ปี สำหรับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop) โดยเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ MEA จากเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ตลอดจนแนวทางการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน

             รศ.ดร.จิตติศักดิ์  ธรรมมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ จุฬาฯ กล่าวว่า โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาอาคารพื้นที่ทดสอบมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้านพลังงาน เป็นส่วนหนึ่งของ Samyan  Smart  City การทดลองการซื้อขายไฟฟ้าของ Prosumer ในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to Peer (P2P) ควบคู่ไปกับการทดสอบการบริหารจัดการการใช้พลังงานในระบบจำหน่ายไฟฟ้าจริงที่จะดำเนินในโครงการความร่วมมือครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นบทเรียนที่เติมเต็มกับทั้งภาควิชาการและหน่วยงานการไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในเชิงนโยบายและการกำกับดูแลทางด้านพลังงานของประเทศไทยได้

            จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่ Samyan Smart City ให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เป็นย่านแห่งนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คุณค่าแก่ชุมชนและสังคม ผสานคุณภาพชีวิตและธุรกิจ มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำรงชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีแนวคิดในการพัฒนา Chula Smart Campus ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ Smart  5 คือ (1) Smart  Energy (2) Smart Environment (3) Smart Mobility (4) Smart Security และ (5) Smart Community ความร่วมมือครั้งนี้จะเน้นที่การพัฒนาเสาหลักทางด้าน Smart Energy ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะที่ประกอบด้วยการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer-to-peer  และอาคารอัจฉริยะ พร้อมทั้งจะทำการทดลองการซื้อขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ในระบบผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายแบบ P2P เพื่อศึกษาผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าในประเด็นต่างๆ ทั้งการวิเคราะห์กลไกตลาด (Market Mechanisms) การออกแบบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) สำหรับการซื้อขายไฟฟ้า และการออกแบบอัตราค่าผ่านทาง (Wheeling charge) ที่เหมาะสมกับการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P คาดหวังว่าผลการศึกษาดังกล่าวจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาประเทศในมิติทางด้านพลังงานและเพื่อให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นตัวอย่างหนึ่งของต้นแบบเมืองอัจฉริยะทางด้านพลังงานต่อไป

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า