รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 กันยายน 2565
ข่าวเด่น, ปฏิทินกิจกรรม, หลักสูตรระยะสั้น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
คอร์สเรียนออนไลน์ทาง Chula MOOCที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดให้เรียนในเดือนกันยายนนั้นมีรายวิชาต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับทุกคนที่สนใจ หนึ่งในนั้นคือวิชา “การออกแบบเพื่อทุกคน” (Universal Design) สอนโดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ รศ.ภาวดี อังศุสิงห์ ผศ.กิตติอร ศิริสุข คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เรียนเป็นอย่างมากโดยได้เปิดการเรียนการสอนทางออนไลน์เป็นรุ่นที่ 4 แล้วทุกคนสามารถเรียนได้ฟรี เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมรับใบเกียรติบัตรจากจุฬาฯ
รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการออกแบบเพื่อทุกคน เปิดเผยว่าการเปิดสอนรายวิชานี้ แม้เป็นรายวิชาที่เริ่มต้นด้วยการออกแบบแต่ก็มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทุกคน เพราะถ้าเรารู้หลัก Universal Design แล้ว เราก็จะเข้าใจผู้สูงอายุ คนพิการ รวมถึงเด็กเล็กในบ้านได้ เนื้อหาในรายวิชานี้มีการเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งถ้าทุกในครอบครัวได้เรียนวิชานี้ ก็จะเข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น สามารถปรับตัวในการดูแลคนกลุ่มนี้ได้ดียิ่งขึ้น
เนื้อหาในเบื้องต้นของรายวิชา “การออกแบบเพื่อทุกคน” เป็นการทำความเข้าใจผู้สูงอายุและผู้พิการว่ามีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตอย่างไร ส่วนเนื้อหาอื่นๆ จะแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ประกอบด้วย การออกแบบตัวอาคาร บ้านเรือน การตกแต่งภายใน และการออกแบบพื้นที่ภายนอกบ้าน
กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้มี 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ นักออกแบบ นักตกแต่งภายใน นักตกแต่งภูมิสภาปัตย์ นักออกแบบ Product Design ซึ่งจะได้เรียนรู้หลักการเรื่อง Universal Design สำหรับนำไปใช้ในงานออกแบบ กลุ่มสอง คือ นิสิต นักศึกษาต่างสาขา และกลุ่มสาม คือประชาชนทั่วไป การเรียนวิชานี้จะทำให้เข้าใจผู้สูงอายุมากขึ้น สามารถนำความรู้ไปใช้ดูแลจัดบ้านให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็กเล็ก และสตรีตั้งครรภ์ได้ หรือถ้าเป็นวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ ก็สามารถ นำความรู้ไปปรับใช้กับศาสตร์ของแต่ละอาชีพ เพื่อจะได้ปรับตัวให้เข้ากับผู้สูงวัยได้มากขึ้น
“ผู้ผ่านการเรียนในหลักสูตรนี้สามารถนำความรู้ไปดูแลผู้สูงอายุ พ่อแม่ รวมถึงตัวเราเองได้ในอนาคต ตั้งแต่การจัดสภาพบ้าน สภาพสังคม และจิตใจ ซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์แล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ที่เข้าใจผิดว่าการออกแบบเพื่อทุกคนหรือ Universal Design ใช้กับคนพิการ หรือผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้วถ้าเราสามารถออกแบบสภาพแวดล้อมให้ผู้สูงอายุหรือคนพิการใช้ได้ คนทั่วไปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน” รศ.ดร.ไตรรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนออนไลน์รายวิชานี้ได้ที่
https://www.mycourseville.com/?q=onlinecourse/course/31284
อ่านวิธีการใช้งาน และวิธีการลงทะเบียนได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/how-to\
เข้าเรียนออนไลน์ได้ที่ https://mooc.chula.ac.th/courses
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : https://facebook.com/CHULAMOOC E-mail : chulamooc@chula.ac.th
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้