รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 กันยายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่มีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตลดลง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดให้ COVID-19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไปนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่คำถาม – คำตอบ (FAQs) เพื่อให้ข้อมูล ข้อแนะนำ และแนวทางการปฏิบัติตัวสำหรับชาวจุฬาฯ ดังนี้
– เริ่ม 1 ต.ค. 2565 มีอะไร?
รัฐบาลลดระดับ COVID-19 จาก “โรคติดต่ออันตราย” มาเป็น “โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง”
– โรคติดต่ออันตรายต่างกับโรคติดต่อที่เฝ้าระวังอย่างไร?
โรคติดต่ออันตราย มีความรุนแรงสูง แพร่ไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคซาร์ส โรคเมอร์ส
โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีความรุนแรงไม่มาก แต่มีการติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ
– มีข้อแนะนำในการเฝ้าระวังอย่างไร?
สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด เช่น ห้องเรียน ห้องสอบ รถโดยสาร เว้นระยะห่างตามความ
เหมาะสม และให้ติดตามมาตรการเพิ่มเติมอื่นๆ ของคณะ/ส่วนงาน
– หากนิสิตหรือบุคลากรติด COVID-19 ต้องกักตัวหรือไม่?
“ไม่จำเป็น” แต่ต้องทำตามข้อแนะนำในการเฝ้าระวัง หรือให้เป็นไปตามที่คณะ/ส่วนงานเห็นสมควร
– หากป่วยเป็น COVID-19 ใช้หลักฐานอะไรในการลา?
กรณีนิสิตขาดเรียน/ขาดสอบ ให้ใช้ใบรับรองแพทย์และทำเรื่องการลา/ขาดสอบตามระเบียบปกติ
กรณีบุคลากร ลาป่วย ได้ตามระเบียบปกติ หรือหัวหน้าส่วนงานสามารถพิจารณาให้ Work from
Home ได้
– หากนิสิตป่วยในวันที่จัดสอบ ควรทำอย่างไร?
พบแพทย์เพื่อใช้ใบรับรองแพทย์ในการลา และทำตามระเบียบและประกาศที่เกี่ยวกับการสอบ
– หากนิสิต/บุคลากรผู้ติดเชื้อมีข้อกังวล ควรติดต่อใคร?
นิสิต-บุคลากรมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง/ฉุกเฉิน สามารถติดต่อศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โทร. 0-2218-0568 หรือโรงพยาบาล ตามสิทธิ์
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้