รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กันยายน 2565
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศวฮ.) ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการด้านฮาลาลนานาชาติ IFANCA 40th Anniversary and 21st International Halal Food Conference ระหว่างวันที่ 18 – 20 กันยายน 2565 ณ โรงแรม Renaissance Schaumburg Convention Center เมืองชอมเบิร์ก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดโดย IFANCA (Islamic Food and Nutrition Council of America) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการรับรองฮาลาลที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 150 คน จากหลากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี ปากีสถาน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร และไทย โดย รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ได้มอบหมายให้ ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ นักวิจัย เข้าร่วมนำเสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของไทยในงานประชุมดังกล่าว
ดร.อาณัฐ เด่นยิ่งโยชน์ ได้ร่วมนำเสนอใน SESSION 5 – Food Forensics: The Role of Ingredient and Product Testing (Panel) เรื่อง“The Experiences of HSC’s Halal Forensic Laboratory (HAFOLAB) on Ingredients and Products Testing” ซึ่งได้บรรยายเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาลและการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ การใช้ห้องปฏิบัติการในการทวนสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์และงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งงานวิจัยด้านการพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นโดย ศวฮ. การบรรยายในครั้งนี้ได้รับความสนใจจากผู้ฟังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์และการใช้ห้องปฏิบัติการจริง และมีข้อมูลเชิงประจักษ์ให้เห็นได้ชัด
ดร.อัซอารีย์ สุขสุวรรณ ได้นำเสนอใน SESSION 8 – Multi-Country Standards: Focus Asian Countries (Panel) หัวข้อ “The Past, Current State, Anticipated Future of Halal Regulation in Thailand: The Contribution of Science and Technology” ซึ่งเกี่ยวกับภาพรวมการรับรองฮาลาลของไทยที่ผ่านมาและยุทธศาสตร์ในอนาคตโดยการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านมติคณะรัฐมนตรีในการผลักดันฮาลาลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮาลาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Blockchain ในการทวนสอบคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ผ่านกระบวนการ precision halalization ผ่านทั้งกระบวนการ HAL-Q, H numbers, SPHERE เพื่อสร้างความปลอดภัยและเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค การนำเสนอครั้งนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากนำเสนอเสร็จ ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโดยเฉพาะเรื่องระบบ HAL-Q , H numbers และระบบ Blockchain
การเข้าร่วมการประชุมและนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ศวฮ.ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในสังคมวิชาการระดับนานาชาติ ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เสริมสร้างภาพลักษณ์ผู้นำด้านนวัตกรรมฮาลาลของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทย รวมถึงเพื่อการสร้างเครือข่ายด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลนานาชาติกับหน่วยงานวิชาการต่อไป
ทั้งนี้ ดร.อาณัฐ และ ดร.อัซอารีย์ ได้เข้าพบนางนาฎนภางค์ ดำรงสุนทรชัย รองกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ซึ่งได้รายงานผลการประชุมวิชาการฮาลาลนานาชาติซึ่งจัดโดย IFANCA และหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือด้านวิชาการด้านอาหารกับมหาวิทยาลัยในนครชิคาโกแนวทางในการส่งเสริมสินค้าฮาลาลไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืช
นอกจากนี้ผู้แทนจาก ศวฮ. ได้เยี่ยมชมศึกษาดูงาน ณ IFANCA ซึ่ง Dr.Muhammad M. Chaudry ประธาน IFANCA ได้มอบหมายให้ Dr.RaFi Shaik, Food Scientists & Technical Auditor ให้การต้อนรับและให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางและกระบวนการรับรองฮาลาลทั้งในประเทศและต่างประเทศของ IFANCA แนวโน้มตลาดฮาลาลในอเมริกาและความเอาใส่ใจของผู้บริโภคต่อคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยผู้แทนจาก ศวฮ. ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลของประเทศไทยและการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลในการสนับสนุนการรับรองฮาลาล รวมทั้งนำเสนอและเชิญชวนคณะทำงานของ IFANCA มาร่วมงานประชุม Thailand Halal Assembly 2022 ที่จะจัดในระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 ด้วย
ปัจจัยผลกระทบต่อรายได้และการเติบโต ธุรกิจ Education Technology (EdTech) ในประเทศไทย
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย อดีตอาจารย์คณะวิศวฯ จุฬาฯ ได้รับการประกาศเกียรติคุณ “Friend of Thai Science 2024”
เศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เจ้าภาพจัดงานประชุมระดับโลก AASLE 2024 ครั้งแรกในไทย รวมนักเศรษฐศาสตร์แรงงานจากทั่วโลกร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานวิจัย
สัมมนาเรื่อง EDCs สารเคมีที่ส่งผลต่อสุขภาพและระบบนิเวศ
“Nifty Elderly: ของเล่นของแต่งบ้านเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์เด็กเล็กและผู้สูงวัย”ผลงานอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองการประกวดนวัตกรรมที่ฮ่องกง
อาจารย์คณะครุศาสตร์ – วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทองจากการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ KIDE 2024 ที่ไต้หวัน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้