รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 พฤษภาคม 2561
ข่าวเด่น
ในสมัยหนึ่ง “บุหรี่” มีบทบาทในการรักษาโรคและสูบเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชาวตะวันตกโบราณ ต่อมากลายเป็นกระแสสูบเพื่อความโก้เก๋และบ่งบอกถึงสถานะทางสังคม บัดนี้โลกหมุนเวียนเปลี่ยนไปมีการพัฒนามากขึ้น วิถีชีวิตก็เปลี่ยน บุหรี่ได้รับการพัฒนาเช่นกัน แต่แตกต่างกับอดีตตรงที่เราไม่สูบบุหรี่เพื่อรักษาโรคหรือเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ไม่มีความโก้เก๋ เป็นแค่เพียงการสูบเพื่อความบันเทิงซึ่งเป็นการปล่อยควันพิษทำลายปอดของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งเป็นการสร้างขยะทำลายโลกในทางอ้อมอีกด้วย
นอกจากควันที่มาจากมวนบุหรี่จะอันตรายต่อมนุษย์แล้ว ก้นบุหรี่ชิ้นเล็กๆ ก็ยังสามารถนำโรคร้ายกลับมาทำร้ายสิ่งแวดล้อมซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากส่วนประกอบของก้นบุหรี่นั้นอันตรายไม่ต่างจากควัน เพราะก้นบุหรี่ประกอบไปด้วยกระดาษ ใยสังเคราะห์ที่ใช้เป็นไส้กรอง และเศษยาสูบที่มีส่วนประกอบจากสารท็อกซิน (Toxin) นิโคติน (Nicotine ) สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็งอีกกว่า 60 ชนิดและเอทิลฟีนอล (Ethyl phenol) ที่สามารถทำให้น้ำเกลือและน้ำสะอาดมีพิษได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแซนดีเอโกในสหรัฐอเมริกา พบขยะจากก้นบุหรี่มากกว่า 4.5 ล้านล้านชิ้นต่อปี อยู่ตามท้องถนน ท่อระบายน้ำ บริเวณชายทะเลและชายหาด ซึ่งเมื่อสารพิษในก้นบุหรี่ละลายลงสู่แหล่งน้ำ จะทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวปนเปื้อนและสะสมพิษ มีผลโดยตรงต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่อย่างกุ้ง หอย ปู ปลา และสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งทำให้ร่างกายของเราสะสมสารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน เพียงพอที่จะทำให้ทุกคนมีเชื้อมะเร็งอยู่ในร่างกาย
เมื่อก้นบุหรี่ถูกทิ้งลงบนพื้นดิน จะทำให้ดินปนเปื้อนและสะสมสารพิษเหล่านี้ได้เช่นกัน เพราะมีสารโพลีอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน หรือ พีเอเอช (PAHs) เป็นสารที่เกิดจากการเผาไม่ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งสารนี้จะยึดเกาะอยู่ในดินและสะสม ในสิ่งมีชีวิต อีกทั้งก้นบุหรี่ยังทำมาจากเซลลูโลสอะซิเตท เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีระยะเวลาย่อยสลายนาน 10 – 15 ปี ซึ่งหมายความว่าดินบริเวณที่มีก้นบุหรี่ถูกทิ้งมีแนวโน้มว่าจะมีสารปนเปื้อนอยู่ในดินนานหลายปี
อีกหนึ่งความร้ายกาจขึ้นชื่อของบุหรี่คือการทำให้อากาศเป็นพิษ โดยควันบุหรี่ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซมีเทน ซึ่งบนโลกใบนี้มีสิงห์อมควันทั่วโลกราว 13,000 ล้านคน สามารถคำนวณค่าการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.6 ล้านตันต่อปี และสร้างก๊าซมีเทนอีก 5.2 ล้านตันต่อปี ยังไม่รวมผลเสียที่เกิดจากประกายไฟเล็กๆ จากก้นบุหรี่ ก็สามารถทำให้ป่าหายไปได้มากกว่าครึ่ง! เพราะบุหรี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้ป่ามากที่สุด อีกทั้งกระบวนการการผลิตยาสูบต้องใช้ฟืนจำนวนมากในการบ่มใบยาสูบ จึงทำให้เราสูญเสียป่าไปอีกหลายล้านไร่ นอกจากจะทำให้ปอดคนหายแล้วก็ยังทำลายปอดของโลกอีกด้วย
“บุหรี่” นอกจากจะไม่เป็นมิตรกับมนุษย์แล้ว ก็ยังไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย ยังมีสิ่งให้ความบันเทิงและวิธีคลายเครียดอีกมากมายโดยที่เราไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่ ในสังคมปัจจุบัน การสูบบุหรี่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้กับผู้สูบ แต่กลับทำให้มีภาพลักษณ์ไปในเชิงลบ ทั้งก่อให้เกิดกลิ่นปาก มีกลิ่นควันบุหรี่ติดตัว นิ้วมือเหลืองซีด ฯลฯ และยังมีโรคร้ายอีกหลายรายการที่รอต่อคิดเข้ามาเพาะเชื้อในร่างกายเรา หยุดทำร้ายตัวเองและคนรอบข้างด้วยควันบุหรี่ และไม่ควรผูกมิตรกับบุหรี่เพราะบุหรี่ไม่เคยเป็นมิตรกับใคร
31 พฤษภาคม 2561 วันงดสูบบุหรี่โลก
Together we can มั่นใจเราทำได้!
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้