ข่าวสารจุฬาฯ

คณาจารย์ นักวิจัยจุฬาฯ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2566

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการประกาศเกียรติคุณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัย รางวัลวิทยานิพนธ์ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปีงบประมาณ 2566 ดังนี้

– รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2566 จากนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจำนวนทั้งสิ้น 10 ท่าน ใน 7 สาขาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 3 ท่าน ได้แก่

  1. ศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ (สาขาปรัชญา)
  2. รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล คณะอักษรศาสตร์ (สาขาปรัชญา)
  3. ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์ (สาขาการศึกษา)

– รางวัลผลงานวิจัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 10 ผลงาน จากรางวัลผลงานวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 57 ผลงานใน 12 สาขาวิชา ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 4 รางวัล ได้แก่

  1. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ และคณะ คณะแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง“ความปลอดภัยและผลภูมิต้านทานจากการให้วัคซีนโควิด-19 ชนิดเดียวกันในแต่ละสูตรวัคซีน การให้ต่างชนิดกัน การกระตุ้นเข็มสาม และภูมิคุ้มกันแบบลูกผสมต่อเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)

  2. ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การคัดกรองและทดสอบหาสารยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสของ SARS-CoV-2 เพื่อนาไปพัฒนาต่อเป็นยาต้านไวรัส” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

  3. รศ.น.สพ.ดร.ณุวีร์ ประภัสระกูล คณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนโดยการประยุกต์องค์ความรู้ด้านเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและโปรไบโอติกในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา)

  4. รศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ และนายทรงวุฒิ บุรงค์ คณะเศรษฐศาสตร์ ผลงานเรื่อง “บทบาทของแรงจูงใจภาษีต่อการตัดสินใจออมระยะยาว :หลักฐานเชิงประจักษ์จากข้อมูลภาษี” (สาขาเศรษฐศาสตร์)

รางวัลระดับดี จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

  1. ศ.ดร.นิศานาถ ไตรผล และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การสร้างคลังข้อมูลวัสดุเชิงประกอบระดับนาโนเมตรพอลิไดแอเซทิลีน/สารประกอบซิงก์ที่สามารถควบคุมพฤติกรรมการเปลี่ยนสีและมีสมบัติฟลูออเรสเซนส์ที่ดีสาหรับเทคโนโลยีการตรวจวัด” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)

  2. รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ดร.แก้วตา รัตนะพิสิฐ คณะเภสัชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ชีวเภสัชภัณฑ์ที่ผลิตจากพืชในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

  3. ผศ.ดร.วรประภา นาควัชระ และ รศ.ดร.เนื้อแพร เล็กเฟื่องฟู คณะเศรษฐศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตลาดแรงงานไทยที่เกิดจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน” (สาขาเศรษฐศาสตร์)

  4. รศ.ดร.จุลนี เทียนไทย และ ดร.กุลกนิษฐ์ สุธรรมชัย คณะรัฐศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพและเอกลักษณ์แรงงานอาชีวศึกษาไทยใน 3 อุตสาหกรรมหลัก: การวิเคราะห์ผ่านแผนที่เส้นทางการก้าวเข้าสู่แรงงานอาชีวศึกษาไทย ภายใต้แนวคิดความปกติใหม่” (สาขาสังคมวิทยา)

  5. รศ.ดร.พนม คลี่ฉายา และคณะ คณะนิเทศศาสตร์ ผลงานเรื่อง“การพัฒนาการตรวจจับข่าวปลอมโดยการเรียนรู้ของเครื่องและการตรวจสอบข้อเท็จจริงของประชาชน” (สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์)

  6. รศ.ดร.สุกัญญา แช่มช้อย คณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคตในปี 2040” (สาขาการศึกษา)

– รางวัลวิทยานิพนธ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 7 ผลงาน จากรางวัลวิทยานิพนธ์จำนวนทั้งสิ้น 43 เรื่อง ใน 12 สาขาวิชา ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.พนิตา ชุติมานุกูล คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การระบุยีนทนเค็มในข้าวโดยใช้สายพันธุ์ที่มีการแทนที่ชิ้นส่วนของโครโมโซมที่มีพื้นฐานพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105” (สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.ศุภจิตรา ชัชวาล

รางวัลระดับดี จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

  1. ดร.กลวัชร ศิริวัฒนานนท์ คณะเภสัชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาซับยูนิตวัคซีนและโปรตีนที่ใช้บำบัดโรคโคโรนาไวรัส 2019 จากพืช” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ

  2. ดร.วีณา วุฒิจานงค์ คณะอักษรศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย:การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง

  3. ดร.เลอลักษณ์ ศรีเกษมศิรา คณะศิลปกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การออกแบบเรขศิลป์สำหรับผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ของชุมชนทอผ้าฝ้ายลาวครั่ง อาเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้กลยุทธ์การตลาดโชคลาง” (สาขาปรัชญา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์

  4. ผศ.ดร.วรพชร จันทร์ขันตี คณะนิติศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย” (สาขานิติศาสตร์) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ศ.ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์

5.  ดร.ณฐิณี เจียรกุล คณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนากระบวนการให้การศึกษาสาหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมสุขภาวะทางอารมณ์แก่เด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะด้วยจิตวิทยาเชิงบวก” (สาขาการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: รศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

6.  ดร.พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี คณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา” (สาขาการศึกษา) อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก: ผศ.ดร.สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์)

– รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รางวัลจำนวน 13 ผลงาน จากผลงานประดิษฐ์คิดค้นจำนวน 55 ผลงาน ใน 9 สาขาวิชา ดังนี้

รางวัลระดับดีมาก จำนวน 1 รางวัล ได้แก่

1. ผศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และคณะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เท้าเทียมไดนามิกส์สำหรับผู้พิการขาขาดที่แข็งแรง” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)

รางวัลระดับดี จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

1. ศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล และคณะ คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “การพัฒนาอุปกรณ์จอภาพเรืองแสงอิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์ไฟฟ้ากระแสสลับสำหรับการตรวจวัดสารพันธุกรรมของไวรัสเอชไอวีและไวรัสตับอักเสบซีในเวลาเดียวกันโดยไม่ใช้สารติดฉลาก” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

2. ดร.นิภาพรรณ ฤาชา และคณะ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ผลงานเรื่อง“ชุดทดสอบอิมมูโนแอสเสย์แบบไหลตามแนวราบร่วมกับการเพิ่มสัญญาณเชิงสีด้วยทองสำหรับบ่งชี้ภาวะโลหิตจาง” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

3.  ดร.สุดเขต ไชโย และคณะ จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เอทีเคร่วมกับเคมีไฟฟ้าแบบไม่ติดฉลากสำหรับการวินิจฉัยโรคโควิด-19” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

4. นายวรุต ศรีสุวรรณ์ และคณะ จากบัณฑิตวิทยาลัย  ผลงานเรื่อง “นวัตปะการัง: ปะการังเทียมที่มีโครงสร้างเลียนแบบธรรมชาติด้วยกระบวนการออกแบบชีวจำลอง” (สาขาปรัชญา)

5. รศ.ดร.ประกอบ กรณีกิจ และ ผศ.ดร.ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล จากคณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง “NurseSims: นวัตกรรมการเรียนรู้หุ่นจำลองทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาลความแม่นยำสูง ประหยัดงบประมาณ” (สาขาการศึกษา)

รางวัลประกาศเกียรติคุณ จำนวน 6 รางวัล ได้แก่

1. น.ส.หริเนตร มุ่งพยาบาล และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์ ผลงานเรื่อง “วัสดุกำบังรังสีเอกซ์จากยางคอมโพสิตแบเรียมซัลเฟต/เซลลูโลสอสัณฐาน” (สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์)

2. รศ.ดร.วนิดา หลายวัฒนไพศาล และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจและอ่านผลหมู่โลหิตระบบ Rh แบบหลายชนิดพร้อมกัน” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)

3. ผศ.ดร.ปาหนัน รัฐวงศ์จิรกุล และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “ชุดตรวจวัณโรคแบบอ่านผลด้วยตาเปล่า MTB Strip” (สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์)

4. ผศ.ดร.สถาพร งามอุโฆษ และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์ ผลงานเรื่อง “เส้นโปรตีนไข่ขาวพร้อมทาน ไร้แป้ง ไร้ไขมัน ที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรีทอร์ท” (สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช)

5. ศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ คณะครุศาสตร์ ผลงานเรื่อง EmpowerMe: แชทบอทโค้ทเพื่อเตรียมทักษะเพื่อเตรียมทักษะอนาคต ให้ผู้เรียนดิจิทัลในอนาคตในยุคอนาคตปรกติถัดไป” (สาขาการศึกษา)

6. ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ และคณะ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ ผลงานเรื่อง “แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ด้วยเกมเสมือนจริงบนมือถือสำหรับนิสิตสัตวแพทย์: เรื่องกายวิภาคส่วนหัวของสุนัข” (สาขาการศึกษา)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า