เปิด 4 ยุทธศาสตร์พัฒนาจุฬาฯ สู่สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก โดย ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่าจุฬาฯ เผชิญความท้าทายในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น disruption ทางด้านเทคโนโลยี สังคมสูงวัย วิกฤตทางด้านสิ่งแวดล้อม ภูมิอากาศ ฯลฯ จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยคงไม่พอ แต่จะต้องแข่งขันในระดับนานาชาติกับมหาวิทยาลัยอื่นในภูมิภาคอาเซียนด้วย ดังนั้นจุฬาฯ ต้องทลายกำแพงของศาสตร์ต่าง ๆ ภาควิชา และคณะโดยเน้นการทำงานร่วมกัน มีการบูรณาการระหว่างศาสตร์ การเรียนรู้และวิจัยข้ามสาขาวิชา สามารถตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ในโลกได้ดียิ่งขึ้น
อีก 4 ปีข้างหน้าจุฬาฯ จะครบรอบ 111 ปี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ได้วาง 4 ยุทธศาสตร์พัฒนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเอไอ (AI University)
นอกจากจะเน้นการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้าน AI แล้ว จุฬาฯ ยังต้องการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีทักษะ AI Ready ใช้ AI ให้เป็น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 Internationalization
จุฬาฯ ปรับจาก Research University That Teaches เป็น Research University That Leads โดยการเชื่อมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก มีหลักสูตรระหว่างประเทศมากขึ้น มีอาจารย์และนิสิตต่างประเทศเข้ามาร่วมในการเรียนการสอน ตลอดจนมีความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น MIT มหาวิทยาลัยชิงหัว มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Sustainability
จุฬาฯ ถอดบทเรียนจากอุทกภัยที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ด้านการระวังภัย สามารถแก้ไขและเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต “เมื่อสังคมมีปัญหา จุฬาฯ มีคำตอบ”
ยุทธศาสตร์ที่ 4 Social Engagement
จุฬาฯ ทำกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนทั้งในเมืองและต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก โดยคณะและหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการในเรื่องนี้มาโดยตลอด เช่น การส่งนิสิตและอาจารย์ไปฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์ เข้าไปช่วยดูแลสุขภาพในพื้นที่ชนบท เป็นต้น
นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จุฬาฯ ได้จัดตั้ง CU Enterprise และสตาร์ทอัพในคณะต่าง ๆ ยกระดับงานวิจัย รวมทั้งมีการเชิญ Professor ชั้นนำจากต่างประเทศมาสอนและทำวิจัยร่วมกับอาจารย์จุฬาฯ ด้านมุมมองในเรื่องการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมีความสำคัญ แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการที่จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณค่าทำให้สังคมเห็นผลลัพธ์จากการศึกษาและการวิจัยที่ส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริง เพราะเกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย