ยุทธศาสตร์ใหม่ จุฬาฯ ในยุคที่ปริญญาถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่า

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ วางเป้าหมายสำคัญให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติระดับสากล ติดอันดับ Top 10 ของโลก โดยกำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 2 ด้าน คือ การเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยขั้นนำระดับ Top ของโลก เช่น MIT เป็นต้น และยังตั้งเป้าให้เติบโตมากขึ้นด้วยการจับมือกับองค์กรระหว่างโลกต่าง ๆ ทั้งสถาบันการศึกษา องค์กรนานาชาติ และภาคเอกชน ในการแลกเปลี่ยนความรู้หรือทำงานร่วมกัน เพื่อให้จุฬาฯ เป็น Global Thai University
อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่าปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายของคนที่เรียนในจุฬาฯ มีทุกช่วงวัยและมีอยู่ทั่วโลก เมื่อกลุ่มเป้าหมายเราโตขึ้น เราต้องสร้างหลักสูตรที่รองรับคนในวงกว้างมากขึ้น การที่คนวัยเรียนเริ่มลดลงไม่เป็นอุปสรรค เพราะกลุ่มคนสูงอายุ หรือคนที่เรียนจบออกไปแล้วก็ยังสามารถเข้ามาเรียนได้ กรอบแนวคิดการศึกษาของจุฬาฯ ไม่ใช่แค่ “Life Long Learning” แต่คือ “Life Long Leading” จุฬาฯ เปิดกว้างไม่ใช่คนที่อยู่ในวัยเรียน แต่คือทุกช่วงวัยและทุกคนในโลก โดยกลุ่มเป้าหมายแรกอาจเป็นประชาชนในภูมิภาคเดียวกัน เช่น จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ขณะที่ยุโรปก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะกลุ่มนี้เริ่มมองว่าการได้มาเรียนในภูมิภาคเอเชียได้มากกว่าความรู้ แต่ได้ประสบการณ์ชีวิต
ศ.ดร.วิเลิศ มองว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ AI จะแทนไม่ได้ คือบทบาทของจุฬาฯ ที่ไม่ได้เป็นแค่สถาบันการศึกษาที่แค่ให้ความรู้กับนิสิตเท่านั้น แต่เป็นที่ซึ่งสามารถเปลี่ยนชีวิตของผู้คน (Life changing) ได้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อจากนี้ คือ “เติบโตรอบทิศ โดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง” เป้าหมายการผลิตคนของจุฬาฯ ไม่ใช่แค่การพัฒนาพื้นฐานความรู้ ( Knowledge Based) อีกต่อไป เพราะความรู้ในรูปแบบกดังกล่าวสามารถที่จะเรียนผ่านออนไลน์ได้ แต่ในวันนี้จุฬาฯ คือมหาวิทยาลัยที่สร้างความฉลาด ( Wisdom Based ) ซึ่งความฉลาดจะติดตัวนิสิตทุกคนไปตลอดชีวิต และยังได้ชุดทักษะ Skillset ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เข้าใจโลก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย