จุฬาฯ ในสื่อ

“ปะการังผสมเทียม” สู้โลกร้อน ทางรอดระบบนิเวศทะเลไทย

             ปะการังทั่วโลกกำลังประสบปัญหาภาวะเสื่อมโทรมจากหลายปัจจัย รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ ในอีก 30 ปีข้างหน้า ปะการังทั่วโลกว่า 90% อาจเสี่ยงต่อการสืบพันธุ์ ซึ่งส่งผลต่อความสมบูรณ์และสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล

              ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และรองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ ร่วมมือกันขยายพันธุ์ปะการังด้วย “เทคนิคผสมเทียม” คือการเลียนแบบการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติของปะการัง จากการติดตามและเฝ้าสังเกต หลังจากที่ลูกปะการังสู้โลกร้อนถูกปล่อยลงทะเลพบว่าปะการังมีการเติบโต และกลายเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่สามารถสืบพันธุ์เหมือนปะการังตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นแนวทางช่วยปะการังให้ปรับตัวรับมือกับภาวะโลกร้อน เป็น “ปะการังสู้โลกร้อน”

              ศ.ดร.สุชนา อธิบายการขยายพันธุ์ปะการังด้วยเทคนิคผสมเทียมว่า “นักวิจัยจะลงเก็บเซลล์สืบพันธุ์ ทั้งไข่และสเปิร์มของปะการังในคืนเดือนเพ็ญ ซึ่งเป็นช่วงที่ปะการังทั่วท้องทะเลพร้อมผสมพันธุ์ โดยการปล่อยสเปิร์มและไข่ออกมาพร้อมกัน แล้วนำเซลล์สืบพันธุ์เหล่านี้มาผสมพันธุ์ในบ่อเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิจนเกิดเป็นตัวอ่อนปะการัง แล้วจึงเตรียมวัสดุคืออิฐมอญ เพื่อให้ตัวอ่อนปะการังลงเกาะและเติบโตในโรงเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 2 ปี ก่อนจะนำปะการังเหล่านี้กลับลงสู่ทะเลให้เติบโตอีก 3 ปี เมื่อปะการังอายุ 5 ปี ปะการังก็จะพร้อมออกไข่ครั้งแรกได้ วิธีนี้ทำให้ปะการังมีโอกาสรอดและเติบโตสูงขึ้น

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า