จุฬาฯ ในสื่อ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จับมือ วช. ผลิตภาพยนตร์เล่าเรื่องคนชายแดนใต้ มุ่งสู่สันติภาพด้วยมุมมองก้าวพ้นตัวตน

             คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สร้างผลงานวิจัยตามยุทธศาสตร์นำนวัตกรรมสื่อสร้างสังคมไร้ความรุนแรง ในโอกาสครบรอบ 60 ปี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผลิตภาพยนตร์ผลงานจากการวิจัย “เรื่องของเรา” เล่าเรื่องความขัดแย้งชายแดนใต้ที่ก้าวพ้นตัวตน เสนอเรื่องราวคนในพื้นที่ที่ถูกบดบังจากความขัดแย้ง หนุนบทบาทการสร้างสันติภาพด้วยความรู้และนวัตกรรมทางสังคม

             ผศ.ดร.ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัย เปิดเผยว่า ภาพยนตร์ “เรื่องของเรา” เป็นผลผลิตจากงานวิจัยเรื่อง “การแปรเปลี่ยนความขัดแย้งและความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้สู่สันติภาพด้วยกระบวนทัศน์การเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตนผ่านภาพยนตร์สั้น” งานวิจัยมีแนวคิดหลักคือ การนำแนวคิดการเล่าเรื่องที่ข้ามพ้นตัวตน (Self-transcendental narrative) ซึ่งเป็นแนวคิดการเล่าเรื่องปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ โดยเน้นการสร้างความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกันในระดับพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คณะวิจัยลงพื้นที่เพื่อค้นหามุมมอง ความคิด ความเชื่อของคนในพื้นที่เกี่ยวกับความรุนแรงในพื้นที่ ด้วยการให้คนในพื้นที่เล่าเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรงด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และทำกิจกรรมการสะท้อนความคิด (Projective Technique) จากนั้นจึงนำผลการวิจัยมาสังเคราะห์ เป็นแก่นเรื่องที่เล่าเรื่องความรุนแรงในแบบข้ามพ้นตัวตน ให้แต่ละคนเล่าเหตุการณ์จากประสบการณ์ตนเอง แล้วถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เห็นเหตุการณ์จากมุมของคนหลากหลายที่เกี่ยวพันกับเหตุการณ์นั้น พัฒนาสร้างสรรค์เป็นบทภาพยนตร์แนว Omnibus Film ที่รวบรวมเรื่องสั้น ๆ ที่แตกต่างกันไว้ในเรื่องเดียวกัน

              เชิญรับชมภาพยนตร์ “เรื่องของเรา” ได้ที่ https://youtube.com/@chulauniversity

             ผู้สนใจสามารถติดต่อขอนำภาพยนตร์ไปจัดฉายในกิจกรรมด้านการเรียนรู้ การศึกษา หรือเป็นสื่อสำหรับกระบวนการ แก้ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้  สามารถติดต่อได้ที่             https://www.facebook.com/commartschulaofficial หรือโทร. 0-2218-2205

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า