จุฬาฯ ในสื่อ

‘ก๊าซเรดอน’ สารก่อมะเร็งปอด จุฬาฯ แนะวิธีป้องกัน

รศ.นเรศร์ จันทน์ขาว ผู้เชี่ยวชาญการตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อม จากภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “ก๊าซเรดอน” เป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ในการทำให้เกิดมะเร็งปอด โดยจัดเป็นสาเหตุอันดับสองรองจากบุหรี่ ก๊าซเรดอนเป็นหนึ่งในธาตุกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของธาตุยูเรเนียมและทอเรียม เนื่องจากเรดอนมีสถานะเป็นก๊าซจึงสามารถฟุ้งกระจายปะปนอยู่ในอากาศทั่วไป เมื่อมนุษย์นำทรัพยากรจากเปลือกโลก เช่น หิน ดิน ทราย     มาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างอาคารบ้านเรือน วัสดุเหล่านั้นก็จะปล่อยก๊าซเรดอนออกมา หากอาคารมีการระบายอากาศที่ไม่ดีจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีโอกาสได้รับก๊าซเรดอนปริมาณมากเข้าไปสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้        

ชั้นล่างของบ้าน อย่างชั้นใต้ดินและชั้น 1 มีแนวโน้มจะมีปริมาณก๊าซเรดอนมากที่สุด ดังนั้น หากตามพื้นที่มีรอยแตก รอยต่อระหว่างท่อระบายน้ำ ท่อปะปา หรือพื้นที่ที่เจาะรูไว้ อาจทำให้ก๊าซเรดอนสามารถแพร่แทรกเข้ามาได้

การวัดเรดอนด้วยแผ่นฟิล์ม CR39 เป็นการวัดร่องรอยของอนุภาคแอลฟาซึ่งปลดปล่อยออกมาจากก๊าซเรดอนที่วิ่งชนแผ่นฟิล์ม ซึ่งภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยงานแรกในประเทศไทยที่มีระบบสอบเทียบความเข้มข้นกัมมันตภาพของเรดอน และให้บริการตรวจวัดปริมาณเรดอนในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน

การป้องกันก๊าซเรดอนเข้าสู่ร่างกาย  ถ้าเราอาศัยอยู่ในบริเวณที่ระบบอากาศเปิด ก๊าซเรดอนจะระบายและเจือจางออกไปเอง ผู้ที่ทำงานอยู่ในที่โล่งจึงไม่ต้องกังวล ส่วนผู้ที่ทำงานและอาศัยอยู่ในอาคาร ควรเปิดหน้าต่างระบายอากาศอยู่เป็นประจำ ก๊าซเรดอนสามารถซึมผ่านตามรอยแตกของบ้าน จึงต้องปิดรอยต่อรอยแตกให้มิดชิด พื้น ต้องผนึกหรืออัดให้แน่นแม้จะเป็นคอนกรีต เทคอนกรีตทับรอยร้าว ส่วนผนังของบ้าน โอกาสที่ก๊าซเรดอนจะซึมผ่านเข้ามามีเปอร์เซ็นต์น้อย เพราะมีสีทาบ้านที่ปัจจุบันหลายผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติกันความร้อนและกันน้ำได้ดี 

ทั้งนี้ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีเครื่องมือและเทคนิคการวัดปริมาณก๊าซเรดอนแบบครบวงจร พร้อมที่จะเข้าไปช่วยวัดหาปริมาณก๊าซเรดอน เพื่อสุขภาพอนามัยของทุกคน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า