รู้ลึกกับจุฬาฯ

ความท้าทายของอาเซียน + 6

แม้ว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนปิดฉากไปเรียบร้อยแล้ว แต่เรื่องข้อตกลงการค้าเสรี ที่เสนอในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกของอาเซียน ร่วมกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ยังเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าติดตามว่าการร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้จะช่วยขับเคลื่อนภูมิภาคนี้ให้ไปข้างหน้า หรือมีปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมมาเป็นอุปสรรคหรือไม่

ผศ.ดร.กษิร ชีพเป็นสุข รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์  และอาจารย์จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ได้รับความสนใจและมีความสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงในด้านยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ

“เห็นได้ชัดว่าจีนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โครงการ BRI หรือเส้นทาง สายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่มีความพยายามอย่างมากในภูมิภาคนี้ และระบบขนส่งโลจิสติกส์ที่เชื่อมกับระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ประเทศลาวก็กำลังพึ่งพาการลงทุนจากจีนในส่วนนี้อยู่”

ทั้งนี้ การเข้ามามีบทบาทของประเทศมหาอำนาจระดับกลาง เช่น อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น ก็มีส่วนสร้างกรอบความร่วมมือกับภูมิภาคอาเซียน เช่น โครงการความร่วมมือสามแม่น้ำ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ซึ่งทางเกาหลีและญี่ปุ่นได้ให้ความสนใจพร้อมสนับสนุนระบบสาธารณูปโภค

“เกาหลีใต้ยังมองด้วยว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ และสามารถรณรงค์เรื่องนี้ได้สำเร็จ จะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสันติภาพในคาบสมุทรเกาหลีระหว่างเกาหลีเหนือ-ใต้ได้ เพราะเป็นพื้นที่โซนกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด”

ขณะเดียวกัน อาเซียนก็เป็นพื้นที่แข่งขันระหว่างชาติมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งทางสหรัฐมองว่าอาเซียนมีความเสี่ยงที่จะถูกจีนรุกล้ำและมีอิทธิพลเหนือภูมิภาค ขณะเดียวกันก็มีโครงการร่วมมือทางการทหารทั้งในประเทศเวียดนามในโครงการกองกำลังรักษาการณ์ชายฝั่ง (US Coast Guard) รวมถึงการตั้งฐานทัพในสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ท่าทีของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมอาเซียนครั้งที่ 35 นั้น ก็อาจจะต้องจับตาดูว่าสหรัฐจะมีทีท่าอย่างไรต่อไป

อาจารย์กษิรกล่าวว่าอาเซียนไม่ได้มองชาติใดชาติหนึ่งเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง และมองเห็นผลประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นตัวแปรหลักในการตัดสินใจ ซึ่งผ่านการเจรจาทั้งในระดับพหุภาคีหรือในภูมิภาคด้วยกัน และทวิภาคีหรือเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม อาจารย์กษิรกล่าวว่าความท้าทายของอาเซียนคือการขาดแคลนบรรทัดฐานที่ยึดหลักมั่นคง ไม่มีประเด็นร่วมที่เด่นชัด โดยเฉพาะด้านการเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิตของประชาชน อุดมการณ์มนุษยนิยมต่างๆ และยังคงใช้ฉันทามติในการตัดสินใจแทนที่การลงคะแนนเสียง

“ก่อนหน้าที่เราจะมีกฎบัตรอาเซียน ในปี ค.ศ. 2008 เราก็อยู่กันแบบหลวมๆ มีแต่กรอบความร่วมมือ ต่อมาเมื่อมีกฎบัตรแล้วก็เหมือนได้รับการยอมรับ และมีตัวตนทางกฎหมายมากขึ้น แต่ในเชิงปฏิบัติเราก็ไม่ได้เปิดอกคุยกันทั้งเรื่อง คุยในเรื่องผลประโยชน์ที่จับต้องได้ แต่ในเชิงคุณภาพสังคม ชีวิตมนุษย์ หรือแม้แต่ประชาธิปไตยเอง ก็ฝากความหวังไม่ได้ดีนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาเซียน องค์กรที่ให้ความสำคัญกับรัฐสูงมาก เป็นนโยบายจากบนลงล่างที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก”

อาจารย์กษิรชี้ว่า การที่ประเทศภายนอกหรือประเทศมหาอำนาจเข้ามาเจรจากับภูมิภาคในอาเซียนต้องเลือกประเด็นในการพิจารณา เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ สามารถจัดการได้ แต่ในกรณีการแก้กฎหมายประหารชีวิต หรือแม้แต่ประเด็นความหลากหลายทางเพศ จะไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีนัก

“ในภาษาทางการทูตเราเรียกว่าการทูตแบบเงียบ คือไม่แสดงความคิดเห็น อย่างตอนประเด็นการลงโทษ LGBT ในบรูไน ในอาเซียนก็เงียบกันหมด เราคุยกัน แต่เรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน แต่สิ่งที่เราควรระวังคือประเด็นขัดแย้งในภูมิภาคปะทุจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เพราะไม่กี่ปีมานี้แตกแยกเรื่องทะเลจีนใต้จนอินโดนีเซียต้องเข้าไปจัดการไกล่เกลี่ย”

อาจารย์กษิรตั้งคำถามทิ้งทายไว้ว่ายังมีประเด็นที่ควรเฝ้าติดตามดูคือจุดร่วมของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งจะเป็นอย่างไร และความร่วมมือของชาติสมาชิกจะดำเนินไปไหนทิศทางไหน เพื่อรับมือประเทศภายนอกหรือประเทศมหาอำนาจที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในภูมิภาคนี้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า