รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
รู้ลึกกับจุฬาฯ
ฉบับวันที่: 20/04/2020 นักวิชาการ: ดร.องอาจ ธเนศนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ COVID-19 ในประเทศไทย ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นโดยมีอัตราต่ำลง ด้านโฆษกศูนย์บริการสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ออกมาแถลงเมื่อวันที่ 17 เมษายน ว่าอาจจะมีข้อสรุปการผ่อนคลายมาตรการบางอย่าง แต่ประชาชนต้องมีพฤติกรรมใหม่ที่ต้องคงไว้และทำให้เป็นเรื่องปกติ ได้แก่ การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือเป็นประจำ และเว้นระยะห่างทางกายภาพและทางสังคม
ประเด็นที่พูดถึงกันมากในสัปดาห์ที่ผ่านมาคือแถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งได้ออกคำแนะนำเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่แนะนำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการ และบุคลากรทางการแพทย์ใส่หน้ากากอนามัยเท่านั้น เปลี่ยนเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งสร้างคำถามให้แก่คนทั่วไปว่าเพราะเหตุใดถึงมีการกลับไปกลับมาของแนวทางการป้องกันตัว
“เรื่องคำแนะนำที่ทาง WHO ที่ออกมาเป็นเพราะว่าทาง WHO เห็นอัตราการติดเชื้อรายใหม่ของประเทศฝั่งเอเชียลดลงอย่างต่อเนื่องและน้อยกว่าฝั่งยุโรป ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะคนเอเชียที่นิยมใส่หน้ากากอนามัย ประกอบกับโรคโควิด-19 ไม่เหมือนโรคอื่นๆ เพราะผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองป่วย และโรคใช้เวลาฟักตัวนาน อาจมีสิทธิแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ดังนั้นกลยุทธ์ให้ประชาชนทุกคนใส่หน้ากากน่าจะเป็นแนวทางที่ดีกว่า” ดร.องอาจ ธเนศนิตย์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
ดร.องอาจ กล่าวอีกว่า หน้ากากอนามัยคืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ไว้ใช้สำหรับปิดช่องทางเดินหายใจ หรือจมูกและปาก ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์เพราะมีช่องเปิด แต่สามารถใช้ในแง่การป้องกันขณะไอหรือจามไม่ให้กระเด็นออกมาจากปากเรา หรือใช้ป้องกันหากมีผู้อื่นไอจามใส่
อย่างไรก็ดี การที่ประชาชนจำนวนมากหาซื้อหน้ากากอนามัยทั่วไปไม่ได้ และต้องหันไปใช้หน้ากากผ้าแทน ดร.องอาจอธิบายว่าตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าได้ แต่ควรเป็นผ้ามัสลินเพราะมีขนาดช่องในผ้าประมาณ 5 ไมครอน มีคุณสมบัติป้องกันน้ำ และสามารถสะท้อนละอองน้ำได้
“โดยปกติการไอจามจะมีละอองใหญ่ หรือที่เรียกว่า Droplets กระจายออกไปตกประมาณ 1 – 2 เมตร ซึ่งผ้ามัสลินสามารถกันได้ และยังมีข้อดีอีกประการคือสามารถซักได้หลายครั้ง อาจจะถึงเป็นร้อยครั้ง ขณะที่หน้ากากอนามัยไม่สามารถซักได้เพราะจะทำให้เนื้อผ้าเสีย แต่มีประสิทธิภาพสูงมากสามารถกันได้ถึง 1 ไมครอน สามารถรองรับเสมหะของผู้ป่วยที่จะมีขนาดเล็กได้ดีกว่าหน้ากากผ้า”
ทั้งนี้ หน้ากากอนามัยเป็นหน้ากากที่ทำจากผ้าไม่ได้ถักทอ มีเส้นใยเป็นผ้าโพลิเมอร์ โดยทั่วไปมักประกอบด้วย 3 ชั้น หรือเรียกว่า 3 PLY ซึ่งมีชั้นตรงกลางเป็นตัวกรอง
“มีผู้ถามกันมากเรื่องหน้ากากอนามัยที่ซื้อมาแล้วไม่มีประสิทธิภาพ หรือซื้อมาแล้วมีความบางผิดปกติ ผมแนะนำให้ทดสอบง่ายๆ ด้วยการเป่าลมไปตรงกลางหน้ากาก หากมีประสิทธิภาพดีพอ ลมจะไม่ออกไปด้านนอก แต่ถ้าเป็นของปลอมหรือคุณภาพไม่ดีจะมีลมออกมา” ดร.องอาจ ระบุ
ประการสำคัญของการสวมใส่หน้ากากอนามัยอีกประการคือ จะต้องใส่ถูกวิธีเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนใส่จะต้องตรวจสภาพของหน้ากากว่ามีรูรั่วหรือหมดอายุหรือไม่และต้องล้างมือหรือใช้เจลล้างมือทำความสะอาดก่อนสวม โดยหันด้านที่มีสีออกมาด้านนอก หน้ากากบางชนิดอาจมีแถบ หรือแถบเหล็กสำหรับปรับให้ใส่พอดีกับจมูก และตรวจเช็คหลังใส่ไม่ให้มีช่องเปิดด้านข้างมากเกินไป
หลังจากสวมใส่แล้วให้ระมัดระวังทุกครั้ง ไม่สัมผัสผิวด้านนอกของหน้ากาก ให้คำนึงอยู่เสมอว่าเป็นด้านที่สกปรก ดังนั้นจะต้องไม่เอามือไปสัมผัส หากสัมผัสต้องล้างมือให้สะอาด การสวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่อถอดหน้ากากอนามัยทิ้งก็ต้องถอดทิ้งให้ถูกวิธี โดยจับสายคล้องบริเวณหูและดึงออก โดยใส่ไว้ในถุงหรือภาชนะปิดทั่วๆ ไป ก่อนปิดฝาหรือผูกถุงก่อนทิ้งแยกกับขยะชนิดอื่นๆ เพราะเป็นขยะติดเชื้อ จึงไม่ควรทิ้งรวมกัน
“นอกจากนี้ เราก็สามารถช่วยลดการระบาดของเชื้อไวรัสได้ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม พยายามอยู่บ้านให้มากที่สุด และออกจากบ้านเฉพาะเวลาที่จำเป็นจริงๆ รวมถึงการตรวจตราและดูแลตัวเองว่ามีโอกาสติดเชื้อหรือไม่ด้วยการดูแลรักษาร่างกาย และหมั่นตรวจสอบสุขภาพร่างกายตนเองว่ามีความผิดปกติหรือไม่อย่างไร” ดร.องอาจกล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้