รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 กุมภาพันธ์ 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการประสานงานกับ ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน (สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์) อ.ดร.จตุวัฒน์ แสงสานนท์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) Dr.Tomoko Takeda (มหาวิทยาลัยโตเกียว) ผศ.ดร.สุรพงษ์ รัตนกุล (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) อ.ดร.ประเสริฐ มากแก้ว และ อ.นพดล ปรีชา (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “น้ำเสียกับการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 และการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ: กรณีศึกษา ประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคอาเซียน” เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการตรวจตราทางน้ำเสียเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อให้แก่ภาครัฐและเอกชน และเป็นเวทีในการเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาคด้านการตรวจตราทางน้ำเสียเพื่อเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อ งานสัมมนาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งในการสร้างความร่วมมือในการประยุกต์ใช้การเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อในเกิดขึ้นในระดับภูมิภาค
งานสัมมนาวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้โครงการ “Implementing wastewater-based epidemiology in Asian communities to strengthen resilience against pandemics” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก The Hitachi Global Foundation ผ่านทาง Hitachi Fund Support for Research Related to Infectious Diseases โดยมี Prof.Eiji Haramoto เป็นหัวหน้าโครงการ รศ.ดร.ภศิชา ไชยแก้ว หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน จากนั้นมีการบรรยายเรื่อง “การตรวจตราทางน้ำเสียในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่น ๆ” โดย Prof.Eiji Haramoto, The University of Yamanashi และ Dr.Tomoko Takeda, The University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น การบรรยายเรื่อง “การตรวจตราทางน้ำเสียในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่น ๆ ในประเทศไทย” โดยคณะผู้วิจัยจากประเทศไทย และสถานการณ์การเฝ้าระวังทางน้ำเสียของประเทศเนปาล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยตัวแทนคณะผู้วิจัยจากแต่ละประเทศ รวมถึงการประชุมแลกเปลี่ยนความเห็นและสถานการณ์การตรวจตราทางน้ำเสียในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน มีอาจารย์ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐทางสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมการสัมมนาจำนวน 70 คน นอกจากนี้ได้มีการศึกษาดูงานระบบการจัดการน้ำเสียในประเทศไทยโดยได้รับความร่วมมือจากสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร และได้มีการหารือถึงความร่วมมือในการจัดการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อต่าง ๆ ทางน้ำเสียในระดับภูมิภาค
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้