รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มีนาคม 2566
Featured News, ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ศุภวรรณ พิพิธสมบัติ
เนื่องในสัปดาห์ต้อหินโลก World Glaucoma Week 2023 ซึ่งตรงกับสัปดาห์ที่ 2 เดือนมีนาคมของทุกปี ในปีนี้ตรงกับวันที่ 12-18 มีนาคม 2566 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวิจัยและนวัตกรรมโรคต้อหิน ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนตระหนักและให้ความสำคัญของโรคต้อหิน เพราะ “ต้อหิน” คือสาเหตุทำให้ตาบอดถาวร (irreversible blindness) อันดับหนึ่งของโลก รวมถึงประเทศไทยมีคนไทยกว่า 2 ล้านคนป่วยเป็นโรคต้อหิน
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวิศนี ตันติเสวี ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า “โรคต้อหิน เป็นโรคอันตราย ที่มักจะไร้สัญญาณเตือนถึงอาการของโรคล่วงหน้า แต่หากคนไข้หมั่นสำรวจตนเอง และมาพบแพทย์เพื่อตรวจตาและรับการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นสามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นจากต้อหินได้”
“โรคต้อหิน คือ โรคของดวงตาชนิดหนึ่งที่เกิดความผิดปกติของขั้วประสาทตาและเส้นใยประสาทตาโดยรอบ บางตัวลงอย่างมีลักษณะจำเพาะ ตามมาด้วยเซลล์ประสาทตาฝ่อลง ส่งผลให้ตามัวและสูญเสียการมองเห็นได้หากไม่ได้รับการรักษา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ พบบ่อยคือ ความดันลูกตาสูงเกินค่าปกติ แต่ผู้ป่วยบางท่าน ไม่ต้องมีความดันตาที่สูงเกินไปก็เป็นต้อหินได้ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยร่วมอื่นๆ โรคต้อหินส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ อาจตรวจพบเมื่อมาตรวจสุขภาพทั่วไปหรือตรวจเจอโดยความบังเอิญ ผู้ป่วยที่มีอาการโดยเฉพาะอาการตามองไม่เห็น เมื่อมาตรวจก็มักจะพบว่าตอนนั้นโรคเป็นมากแล้ว” รศ.พญ.วิศนีอธิบาย
รศ.พญ.วิศนีขยายความถึงกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรคต้อหินว่า “ผู้ที่มีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน คือ คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีความดันลูกตาสูงเกินค่าปกติ มีญาติสายตรงเป็นต้อหิน สายตาสั้นหรือยาวมาก ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุทางตา ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำโดยเฉพาะยาหยอดตา ซึ่งกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ก็ควรมาพบจักษุแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองโรคอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจพบได้เร็วขึ้น หรือตรวจพบโรคได้ในระยะเริ่มต้น และเมื่อแพทย์ตรวจพบโรคต้อหินได้เร็ว จะเพิ่มโอกาสการรักษาคนไข้ได้เร็ว ทั้งนี้เพื่อชะลอหรือหยุดการดำเนินโรค ไม่ให้กลายเข้าสู่ระยะรุนแรงที่ทำให้ตาบอดได้”
“การรักษาและควบคุมอาการโรคต้อหินมีหลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาหยอดลดความดันลูกตา การใช้เลเซอร์ การผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งในทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่รับรองการรักษาโรคต้อหินด้วยการการบริโภคอาหารเสริม การใช้สมุนไพร หรือการรักษาด้วยการนวดตาอย่างรุนแรง เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างแน่นหนาที่สนับสนุนประสิทธิภาพการรักษาโรคของการใช้วิธีข้างต้น ณ เวลานี้ จึงขอให้ใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในการดูแลรักษาดวงตาของท่าน หากสงสัยว่า ตนจะมีความเสี่ยงเป็นโรคต้อหิน การมาปรึกษากับจักษุแพทย์ น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม”
รศ.พญ.วิศนีกล่าวเสริมว่า “ก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 หน่วยต้อหิน ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรพ. จุฬาลงกรณ์มีการจัดบริการตรวจคัดกรองโรคต้อหินฟรีแก่ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักและเข้าถึงการตรวจสุขภาพตามากขึ้น (ดังภาพด้านล่างนี้) ผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้จากเว็บไซต์และเพจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ “
ประชาชนทั่วไปที่ต้องการตรวจและรักษาอาการโรคต้อหิน สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือห้องตรวจผู้ป่วยนอกจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.30-16.00 ติดต่อสอบถามโทร. 02-256-4000
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้