รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 สิงหาคม 2561
ข่าวเด่น
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยจากอาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ที่สร้างสรรค์ผลงานในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ผลงานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล (Center of Fuels and energy form by Biomass) โดย ศ.ดร.ธราพงศ์ วิทิตศานต์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ก่อตั้งศูนย์เชื้อเพลิงที่ส่งเสริมการพัฒนาชีวมวลให้มีประสิทธิภาพในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งการวิจัยเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแปรรูปขยะพลาสติกและขยะทางการเกษตรให้เป็นพลังงาน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และมีประสิทธิภาพเทียบเท่าเชื้อเพลิงที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับการแปรรูปบ่อขยะเป็นบ่อน้ำมันต้องใช้ระบบไพโรไลซิส (Pyrolysis) หรือกระบวนการกลั่นสลายเปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมี เป็นการย่อยสลายขยะให้มีโมเลกุลเล็กจิ๋ว เกิดเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมัน ซึ่งในขยะพลาสติกทุกชิ้นจะมีส่วนประกอบเดียวกันกับปิโตรเลียม นั่นหมายความว่าในขยะพลาสติกมีโมเลกุลน้ำมันซ่อนอยู่ และกระบวนการไพโรไลซิสนี้เองสามารถทำให้ขยะกลายเป็นน้ำมันได้
กระบวนการแปลงขยะด้วยระบบไพโรไลซิส มีการใช้ระบบนี้มาแล้วในต่างประเทศ โดยในต่างประเทศมีการคัดแยกอย่างเป็นระบบ ทำให้ขยะมีความสะอาด นำมาแปรรูปได้ง่าย แต่ขยะในประเทศไทยทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่นๆ ทำให้เครื่องผลิตน้ำมันขยะจากต่างประเทศใช้ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงต้องมีการคิดค้นเพื่อจัดการกับขยะในประเทศไทยโดยเฉพาะ
ศูนย์เชื้อเพลิงฯ ยังมีการวิจัยพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือก ได้แก่ เชื้อเพลิงแข็งจากถ่านอัดแท่งและถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีความแตกต่างจากถ่านเผาทั่วๆไปโดยมีคุณสมบัติเผาไหม้นานถึง 3 ชั่วโมง ไม่เกิดการแตกปะทุระหว่างเผาไหม้ มีควันและขี้เถ้าน้อย และที่สำคัญผลิตจากขยะทางการเกษตร เช่น กะลามะพร้าว เศษไม้ไผ่ หรือแม้กระทั่งเหง้ามันสำปะหลัง ทำให้ขยะประเภทนี้กลายเป็นศูนย์แถมสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย
ยังมีอีกหลายผลงานวิจัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีจากนักวิจัยไทย แล้วจะรู้ว่างานวิจัยไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก
Together we can มั่นใจเราทำได้
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.research.chula.ac.th/energy-from-waste/
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้