รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 สิงหาคม 2561
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ และ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ สองนักวิจัยไทย พร้อมด้วยผู้ร่วมวิจัยจากประเทศไทยรวม 13 ชีวิต ได้เดินทางด้วยเรือปฏิบัติการถึงบริเวณชายฝั่งหมู่เกาะสวาลบาร์ด มหาสมุทรอาร์กติก และดำน้ำเพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมใต้ทะเล เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนและขยะพลาสติกขนาดเล็กที่มีต่อสัตว์ทะเลหน้าดินที่ขั้วโลกเหนือ ซึ่งเป็นการวิจัยใต้ทะเลอาร์กติก ภายใต้ความร่วมมือของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สถานเอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการสำรวจและสังเกตการณ์ของช่วงฤดูร้อนพื้นที่ขั้วโลกเหนือขณะนี้พบว่าไม่เห็นน้ำแข็งในทะเล ภูเขาน้ำแข็ง และแผ่นน้ำแข็งมากนัก เทียบกับฤดูร้อนของขั้วโลกใต้ ยังเห็นแผ่นน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็งอยู่จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิที่ขั้วโลกเหนือสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งละลาย ขณะเดียวกันยังพบหมีขั้วโลกหันมากินพืชเป็นอาหาร อีกทั้งยังมีปริมาณสาหร่ายและแมงกะพรุนในทะเลเพิ่มขึ้น และพบกวางเรนเดียร์กินสาหร่ายเป็นอาหารมากขึ้น
รศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ในฐานะหัวหน้าคณะนักสำรวจ เผยว่า หลังจากเดินทางมาถึงพื้นที่ได้เริ่มดำเนินการวิจัยตามแผนงาน แต่หลายครั้งไม่สามารถปฏิบัติงานได้เนื่องจากคลื่นแรง หรือน้ำขุ่นมากอันตรายต่อการการดำน้ำและเก็บตัวอย่างใต้ทะเล หรือแม้กระทั่งหมีขาวที่กำลังว่ายน้ำอยู่ ก็เป็นอุปสรรคหนึ่งในการทำงานเช่นกัน
“จากการสำรวจบนบกพบสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เลี่ยนแปลงที่ขั้วโลกเหนือคือ คณะของเราพบเห็นแม่หมีขาวกับลูกกำลังกินพวกมอสและพืชเป็นอาหาร ปกติหมีขาวเป็นสัตว์ผู้ล่าที่กินเนื้อสัตว์พวกแมวน้ำเป็นอาหาร ประกอบกับจากการผ่ากระเพาะซากหมีขาวของนักวิจัยในพื้นที่ พบปริมาณของพืชมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันหมีขาวไม่สามารถล่ากินอาหารสัตว์ทะเลอื่นได้อย่างเพียงพอ ทำให้ต้องหันมากินพวกพืชบนบกแทน โดยการกินพวกพืชเป็นอาหารมากๆจะทำให้หมีขาวมีสภาพร่างกายอ่อนแอและไม่แข็งแรง นอกจากนี้การดำน้ำสำรวจในพื้นที่ขั้วโลกเหนือยังพบว่ามีปริมาณสาหร่ายจำนวนมาก อาจจะมาจากการที่น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำทะเลบริเวณนี้อุ่นขึ้น ทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี ขณะเดียวกันยังพบแมงกะพรุน และหวีวุ้น(สัตว์จำพวกแมงกะพรุน) อยู่ในน้ำทะเลมาก แสดงว่าอุณหภูมิน้ำทะเลที่ขั้วโลกเหนือสูงขึ้น” รศ.ดร.วรณพ กล่าว
รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ เผยว่า จากการพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ของประเทศนอร์เวย์ พบว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงฤดูหนาว หิมะตกน้อยลง น้ำแข็งไม่หนาพอ จึงทำให้ไม่สามารถใช้รถขับบนหิมะ หรือ Snow mobile ได้ และมีความเสี่ยงสูงต่อการที่มีหิมะถล่มในพื้นที่ต่างๆ และเกิดน้ำท่วม แสดงให้เห็นว่าที่ขั้วโลกเหนือ ณ ปัจจุบัน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าปกติมากเนื่องจากภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำแข็งหรือหิมะมีน้อยมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน น้ำแข็งละลายไปเยอะมากกว่าปกติ
“อุณหภูมิที่ขั้วโลกโดยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าอุณหภูมิปกติ มากกว่า 5 องศาเซลเซียส ทำให้พฤติกรรมการกินอาหารของสิ่งมีชีวิตต่างๆที่ขั้วโลกเปลี่ยน สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถที่จะหาอาหารได้เพียงพอ ทั้งนี้การดำน้ำที่ขั้วโลกเหนือในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่ต้องเผชิญกับน้ำทะเลที่เย็นจัด อุณหภูมิเกือบศูนย์องศา แต่ในการดำน้ำต้องระวังหมีขาวและช้างน้ำ (walrus) ขั้วโลกด้วย เพราะอาจจะเกิดอันตรายถ้านักดำน้ำไปดำใกล้สัตว์เหล่านั้น ที่สำคัญมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ทางทีมดำน้ำได้ลงไปในบริเวณใกล้ธารน้ำแข็ง และเป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำแข็งละลายสูงมาก ทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวขุ่นมาก จากน้ำจืดของน้ำแข็งที่ไหลลงทะเล เมื่อทางทีมดำน้ำลึกลงไปประมาณ 2-3 เมตร ตามปกติน้ำที่ระดับน้ำลึกลงไปน้ำทะเลต้องใสมากขึ้น แต่พื้นที่นั้นกลับขุ่นมากกว่าปกติ เมื่อทีมงานดำลงไปที่ความลึกระดับ 10 เมตรซึ่งเป็นระดับที่มีน้ำขุ่นมากและมีทัศนะวิสัยการมองเห็นใต้น้ำเพียง 0 เมตร อันตรายมากจนตนแอบคิดถอดใจที่จะได้กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ เพราะมีความเป็นไปได้ว่าหากเรามองไม่เห็นแล้วดำน้ำต่อไปอาจจะพลาดตกไปในส่วนลาดชันใต้ทะเลที่มีระดับความลึก 40 เมตรได้ แต่สุดท้าย ทุกคนก็สามารถที่จะขึ้นมาจากน้ำได้อย่างปลอดภัย” รศ.ดร. สุชนา กล่าวทิ้งท้าย
การเดินทางสำรวจวิจัยดังกล่าวนอกจากจะเป็นการศึกษาผลของภาวะโลกร้อนและขยะพลาสติกขนาดเล็กที่มีต่อสัตว์ทะเลหน้าดินที่มหาสมุทรอาร์กติกแล้ว ยังเป็นความร่วมมือในการทำวิจัยที่อาร์กติกระหว่างประเทศไทย จีน และราชอาณาจักรนอร์เวย์ รวมถึงสร้างความตระหนัก จิตสำนึก และความตื่นตัว ในผลของภาวะโลกร้อนและขยะทะเลที่มีต่อมหาสมุทรอาร์กติกและโลก ให้กับประชาชนและเยาวชนไทย โดยจะดำเนินการสำรวจวิจัยเสร็จสิ้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2561 ทั้งนี้หลังจากคณะวิจัยกลับถึงประเทศไทยจะมีการนำเสนอเรื่องราวต่างๆที่ได้จากการปฏิบัติงานสู่เยาวชนและประชาชนที่สนใจอีกครั้ง
สถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญร่วมกิจกรรมเดิน-ปั่น-วิ่ง WALK-RIDE-RUN ย่านพระโขนง-บางนา “เดินส่องย่าน ปั่นมองเมือง วิ่งเชื่อมกรุง” และกิจกรรมเสวนาสาธารณะ
15 ก.ย. 67
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ บ้านจิรายุ – พูนทรัพย์ ถนนสุขุมวิท 101/1 (ซอยวชิรธรรมสาธิต)
จุฬาฯ จัดพิธีมอบเข็มทองคำเกียรติคุณและแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุ ปี 2567
จุฬาฯ จัดโครงการ “CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 1”
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมูลนิธิเพื่อนศิลปะ สร้างแพลตฟอร์มใหม่ยกระดับศิลปะการเต้นสู่เวทีนานาชาติ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนา “MANUGRIP” อุปกรณ์ฝึกออกกำลังมือ เพื่อสุขภาพผู้สูงวัย
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้