ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จับมือ University of Sheffield เดินหน้าศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (University of Sheffield) ประเทศอังกฤษ ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อพัฒนางานวิจัย รวมถึงพัฒนาการเรียนรู้และการเรียนการสอนร่วมกัน จากการที่มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ได้เปิดศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยงบประมาณ 7.6 ล้านปอนด์ หรือราว 336 ล้านบาท

          ศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia Vaccine Manufacturing Research Hub) มุ่งเน้นการพัฒนาวัคซีนคุณภาพสูงที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อตอบสนองการรักษาโรคที่แพร่ระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างทันท่วงที เช่น โรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก โรคพิษสุนัขบ้า โรคตับอักเสบ วัณโรค เป็นต้น โดยการพัฒนาวัคซีน 3 รูปแบบ ได้แก่ วัคซีนที่ผลิตจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein Subunit Vaccine) วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม หรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (Messenger RNA (mRNA) Vaccine) และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Viral Vector Vaccine) โครงการนี้จัดตั้งขึ้นภายใต้การสนับสนุนของ Department of Health and Social Care and the Engineering and Physical Sciences Research Council (EPSRC) เป็นส่วนหนึ่งของ UK Vaccine Network (UKVN) โปรแกรมพัฒนาการสร้างวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ และประเทศรายได้ปานกลาง

          ศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีนมี Prof.Tuck Seng Wong Wong ศาสตราจารย์ด้าน Biomanufacturing ของมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ เป็นผู้อำนวยการ และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จากศูนย์วิจัยวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อำนวยการร่วม โดยทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักร 4 แห่ง (University of Sheffield, University of Cambridge, University of York and University of Kent) และองค์กรในแต่ละประเทศใน 5 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย) ได้แก่

  • KinGen Biotech (Vaccine manufacturer, Thailand)
  • Baiya Phytopharm (Vaccine manufacturer, Thailand)
  • Pharmaniaga (Vaccine manufacturer, Malaysia)
  • Solution Biologics (Vaccine manufacturer, Malaysia)
  • Duopharma Biotech (Vaccine manufacturer, Malaysia)
  • Malaysia Genome and Vaccine Institute (National research institute, Malaysia)
  • Research Institute for Tropical Medicine (Governmental agency, the Philippines)
  • University of the Philippines Manila (University, the Philippines)
  • Pasteur Institute – Ho Chi Minh City (National research institute, Vietnam)
  • Bandung Institute of Technology (University, Indonesia)  

          มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ (University of Sheffield) เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านการวิจัยการผลิตวัคซีน ซึ่งมีรางวัลการันตีจากหลายสถาบัน นอกจากนี้ยังได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการ Wellcome Leap R3 ในการก่อตั้งศูนย์วิจัยการผลิตวัคซีน mRNA ขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ เพื่อพัฒนากระบวนการการผลิตวัคซีนให้ก่อเกิดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

(ข้อมูลจาก https://www.sheffield.ac.uk/cbe/news/sheffield-lead-ps76-million-uk-south-east-asia-vaccine-manufacturing-research-hub และสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า