รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องประชุมสัมพุทธเมตตาประชารักษ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีเปิดโครงการอบรมขับเคลื่อนการสื่อสารสาธารณะและสังคม (Care D+) ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ จากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวเปิดงานและมอบนโยบายการจัดโครงการ Care D+ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ ส่งรหัสเข้าเรียนและมอบหนังสือสำคัญแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จากนั้นเป็นการสาธิตเทคนิคการสื่อสารขั้นสูงด้วยแนวทาง Care D+ โดยวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวิเคราะห์และอภิปรายกรณีศึกษา โดยวิทยากรจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกระทรวงสาธารณสุข ปิดท้ายด้วยการแบ่งปันประสบการณ์และความท้าทายในงานสื่อสารในโรงพยาบาล โดยวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุข
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ป่วยญาติและบุคลากรทางการแพทย์ โดยการสร้างทีมประสานใจ หรือ Care D+ เป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้ได้รับทราบถึงขั้นตอนแนวทางการรักษาพยาบาล ลดความไม่เข้าใจระหว่างกันที่อาจจะเกิดขึ้นกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการสื่อสารอย่างเข้าอกเข้าใจ (Emphatic Communication) ในภาคการดูแลสุขภาพร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 โดยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ เพื่อยกระดับคุณภาพการสื่อสารในภาคการดูแลสุขภาพอบรมบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการสื่อสารมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการบริหารจัดการภาวะวิกฤตทางการสื่อสาร (Crisis Communication Management) และการสื่อสารด้วยความเข้าใจเชื่อมอารมณ์ความรู้สึกกัน (Emphatic Communication) ซึ่งจะทำให้ทีม Care D+ สามารถรับฟังผู้ป่วยและญาติอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจสามารถบริหารจัดการหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องช่วยลดความไม่เข้าใจกันหรือความขัดแย้งระหว่างกันลงได้ การอบรมมีทั้งแบบออนไซต์และออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม cug.academy โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารและจิตวิทยาจากบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป โดยภายในเดือนธันวาคมนี้จะมีทีม Care D+ 1,000 คน และจะครบ 10,000 คน ตามเป้าหมายภายในเดือนเมษายน 2567 โดยจะมีการประเมินผลการอบรมและปรับปรุงหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้สามารถสื่อสารประสานใจสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันได้อย่างดี
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะจุฬาฯ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกันพัฒนาหลักสูตรมาตรฐาน Care D+ เป็นการสื่อสารในการสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติเพื่อให้รู้สึกคลายกังวล สร้างความเข้าอกเข้าใจให้กับประชาชน ทำให้ประสิทธิภาพในการบริการประชาชนทำได้สูงสุด โดยหลักสูตร 7 บทเรียนจะมีทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ หลังจากนั้นก็จะมีการสอบวัดผลด้วย
จุฬาฯ ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจาก YAAE สาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชม รับฟังข้อมูลหลักสูตรศึกษาต่อจุฬาฯ
จุฬาฯ ร่วมกับ ททท.เชิญร่วมงาน “อะ’ลอง Uttaradit” นำเสนอมุมมองใหม่ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ อุทยาน 100 ปีจุฬาฯ
เชิญฟังบรรยาย Chula Lunch Talk : Generative AI หนึ่งปีที่ผ่านมามีอะไรเปลี่ยนไปบ้างนะ
19 ก.ย. 67 เวลา 12.00 น.
บางโพลีฟวิ่งแลป สถาปัตย์ จุฬาฯ เป็นตัวอย่างระดับนานาชาติด้านความยั่งยืนของ ISCN report 2024
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย “จุฬาฯ ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม”
สัมมนา “From Startups to Scale-Ups: Swedish Perspective” CUTIP จุฬาฯ ร่วมส่งเสริมความสำเร็จสตาร์ทอัพไทยในระดับสากลสู่สวีเดน
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้