ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดตัว Sustainable Society Platform เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ณ เรือนจุฬานฤมิต สำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ จัดงานเปิดตัวแพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยสังคมยั่งยืน “Sustainable Society Platform” โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวต้อนรับและเปิดงาน รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี กล่าวถึงวัตถุประสงค์การ ริเริ่มโครงการ เพื่อรวบรวมนักวิจัยที่มีความสนใจด้านการพัฒนาทางสังคมยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีผลกระทบสูงต่อสังคม และเป็นศูนย์กลางสำหรับนักวิจัยในการแลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันความรู้ และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนให้กับคนในสังคม

ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ
รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์

            รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ให้แนวทางการวิจัยในหัวข้อ “งานวิจัยและนวัตกรรมด้าน Sustainable Society ที่สังคมต้องการ” ซึ่งวิเคราะห์เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ควรนำไปพัฒนางานวิจัยทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาในอนาคต โดยแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ  ได้แก่ การผลิตกำลังคนและการส่งเสริมการมีบุตร การสร้างสังคมน่าอยู่ การคุ้มครองสิทธิ์ ความเสมอภาคทางสังคม สิทธิเสรีภาพที่แตกต่าง ความยากจนของเกษตรกร และการปฏิรูปภาครัฐ

รศ.ดร.ดำรงค์ วัฒนา

            แพลตฟอร์มเพื่อการวิจัยสังคมยั่งยืน (Sustainable Society Platform) ได้นำเสนอประเด็นสำคัญที่จะสร้างสมดุลระหว่างมิติทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคมสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนใน 3 โปรแกรมวิจัย ได้แก่ สังคมน่าอยู่ (Livable Society)  เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และ สังคมถ้วนถึง (Inclusive Society)

            ผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และหัวหน้าโปรแกรมวิจัยสังคมน่าอยู่ นำเสนอแนวคิด “Sustainable Living” หรือ “อยู่ยั่งยืน” โดยมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ ท้าทายของสังคม 4 เป้าหมาย ได้แก่ การแบ่งปันและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การดำรงอยู่ร่วมกัน การสร้างสุขภาพและความยั่งยืนให้แก่นิเวศแห่งการดำรงอยู่ และความสุขของคนในสังคม

ผศ.ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์

            ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโปรแกรมวิจัยเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำเสนอภูมิทัศน์การวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน 11 อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมายของไทย และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในเทศบาลเมืองสระบุรีและเมืองอัมพวา

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย

            ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าโปรแกรมสังคมถ้วนถึง กล่าวว่า “สังคมถ้วนถึง” ตามคำนิยามของ UN คือ “สังคมสำหรับทุกคน” มีสิทธิหน้าที่ และมีบทบาทสำคัญในการร่วมสร้างสรรค์สังคม โดยในระยะแรกจะเริ่มที่ความท้าทายด้าน Gender และ Disability และจะขยายให้ครอบคลุมด้านต่างๆ ต่อไป เช่น ความรุนแรง ความเหลื่อมล้ำ

ผศ.ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม

นอกจากนี้ บริษัท Globish Academia (ไทยแลนด์) จำกัด ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลปัญหา cyber bully และปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของวัยรุ่นและผู้ปกครอง ร่วมกับกลุ่มนักเรียนที่ชนะการแข่งขันในโครงการ International Friends for Peace 2023

แพลตฟอร์มสังคมยั่งยืนยังส่งเสริมสภาพแวดล้อมการวิจัยให้เกิดการร่วมมือข้ามสาขาวิชาภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยภายนอกเพื่อให้เกิดการแบ่งปันผลการวิจัยและนำความรู้สู่ชุมชนในวงกว้าง แก้ไขความท้าทายด้านความยั่งยืนที่ซับซ้อนและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางสังคมที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า