รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว“ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ”(CU-ECCS) ซึ่งจุฬาฯ พัฒนาสำเร็จเป็นแห่งแรก” สะดวก รวดเร็ว ถูกระเบียบ ปลอดภัย ติดตามง่าย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอ.ศิรธัช ศิริชุมแสง ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านบริหาร จุฬาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี ด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวเชิญชวนประชาคมจุฬาฯ ใช้งานระบบ CU-ECCS
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ (CU Electronic Confidential correspondence System:CU-ECCS) มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาและอุปสรรคในการรับ-ส่งเอกสารลับของจุฬาฯ ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการปิดสถานที่ทำการในมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการรับ-ส่งเอกสารลับของมหาวิทยาลัยและส่วนงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาดำเนินการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เอกสารลับครบทุกขั้นตอนเป็นแห่งแรก แทนการดำเนินการในรูปแบบเดิมซึ่งทำในรูปแบบ Manual เอกสารลับที่นำเข้าระบบ CU-ECCS ได้แก่ เอกสารที่มีชั้นความลับระดับลับและลับมาก เอกสารที่ต้องระมัดระวังในการเข้าถึง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานบุคคล งานกฎหมาย งานวินัยนิสิต และเอกสารอื่นๆ ที่เข้าข่ายเอกสารลับ
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับเป็นระบบที่ทำงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านเอกสารลับที่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบสูงตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และติดตามเอกสารลับได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารสูญหายระหว่างทางมีฟังก์ชั่นต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดแยกประเภทเอกสารลับ จัดเรียง ใช้งาน ติดตาม จัดเก็บ และค้นหา สามารถเรียกดูตัวอย่างเอกสารลับในระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพียงใส่รหัสความปลอดภัยส่วนบุคคล นอกจากนี้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับยังรองรับเอกสารได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งสามารถสร้างเอกสารลับประเภทต่างๆ ภายในระบบได้ การจัดเก็บเอกสารลับเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมเริ่มใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ในอนาคตจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ นำไปเป็นโมเดลใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้