รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว“ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ”(CU-ECCS) ซึ่งจุฬาฯ พัฒนาสำเร็จเป็นแห่งแรก” สะดวก รวดเร็ว ถูกระเบียบ ปลอดภัย ติดตามง่าย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ณ ห้อง 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอ.ศิรธัช ศิริชุมแสง ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านบริหาร จุฬาฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ ผศ.ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดี ด้านบริหารทั่วไปและศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ กล่าวเชิญชวนประชาคมจุฬาฯ ใช้งานระบบ CU-ECCS
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับ (CU Electronic Confidential correspondence System:CU-ECCS) มีจุดเริ่มต้นจากปัญหาและอุปสรรคในการรับ-ส่งเอกสารลับของจุฬาฯ ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการปิดสถานที่ทำการในมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว มหาวิทยาลัยจึงได้พัฒนาระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในการรับ-ส่งเอกสารลับของมหาวิทยาลัยและส่วนงานต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาดำเนินการระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์เอกสารลับครบทุกขั้นตอนเป็นแห่งแรก แทนการดำเนินการในรูปแบบเดิมซึ่งทำในรูปแบบ Manual เอกสารลับที่นำเข้าระบบ CU-ECCS ได้แก่ เอกสารที่มีชั้นความลับระดับลับและลับมาก เอกสารที่ต้องระมัดระวังในการเข้าถึง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานบุคคล งานกฎหมาย งานวินัยนิสิต และเอกสารอื่นๆ ที่เข้าข่ายเอกสารลับ
ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับเป็นระบบที่ทำงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านเอกสารลับที่ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานระบบสูงตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และติดตามเอกสารลับได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารสูญหายระหว่างทางมีฟังก์ชั่นต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการคัดแยกประเภทเอกสารลับ จัดเรียง ใช้งาน ติดตาม จัดเก็บ และค้นหา สามารถเรียกดูตัวอย่างเอกสารลับในระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพียงใส่รหัสความปลอดภัยส่วนบุคคล นอกจากนี้ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับยังรองรับเอกสารได้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งสามารถสร้างเอกสารลับประเภทต่างๆ ภายในระบบได้ การจัดเก็บเอกสารลับเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพร้อมเริ่มใช้งานระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ลับตั้งแต่ 26 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ในอนาคตจะเปิดให้หน่วยงานต่างๆ นำไปเป็นโมเดลใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป
อบรมบุคลากรศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาฯ หลักสูตร “Mindset กับการสื่อสารเพื่องานบริการ”
จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “การขนส่งและโลจิสติกส์ไทยในยุคสงครามการค้า”สะท้อนมุมมองการปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลางบริบทเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน
จุฬาฯ ร่วมกับ 6 ชุมชนบางขุนเทียน จัด “เทศกาลฟาร์มทะเลกรุงเทพ” ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาชุมชน สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Best Poster Award การประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มาเลเซีย
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้