รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 เมษายน 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 ศ.สพ.ญ.ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ รองอธิการบดี ด้านการวางแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาฯ คุณวไรรัตน์ ผ่องจิตต์ กรรมการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด อ.ดร. ธีรพงศ์ ยะทา กรรมการผู้จัดการ บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด และ ผศ.สพ.ญ.ดร.ศิรกานต์ ฐิตวัฒน์ อาจารย์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามในพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม” ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของอนุสิทธิบัตร ให้แก่บริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ดำเนินกิจการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่าย ให้บริการค้นคว้า วิจัย พัฒนา ผลิตและจำหน่าย อนุภาคนาโนสารสกัด สำหรับสินค้าหรือบริการต่างๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้อนุภาคนาโนในการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ
พิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามอนุสิทธิบัตร “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม” ในครั้งนี้จัดโดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ และบริษัทพรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด โดยมี อ.ดร.ธีรพงศ์ ยะทา เป็นผู้กล่าวต้อนรับและกล่าวแนะนำบริษัท พรีเมียร์ อินโนว่า จำกัด
โครงการวิจัย “องค์ประกอบไฮโดรเจลกักเก็บอนุภาคนาโนที่ห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหย และกรรมวิธีการเตรียม” โดยคณะผู้วิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นก้าวแรกที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นาโนเทคโนโลยีที่มีความสำคัญของประเทศไทย เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบนำเทคโนโลยีนาโนเอนแคปซูเลชั่น เพื่อนำส่งสารสำคัญไปยังส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเวชสำอาง อาหารเชิงฟังก์ชั่น ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ และพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ประกอบในระบบนำส่งสารทางเภสัชกรรมและสมุนไพร เป็นการเพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศด้านวัตถุดิบ สารสกัดจากธรรมชาติ สู่ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม รวมทั้งเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตสินค้าด้านสุขภาพและชีวภาพในประเทศไทย ถือเป็นการส่งเสริมนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของประเทศอย่างแท้จริง
วงดนตรี CU Band กับความประทับใจในงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี 20 กันยายนที่จุฬาฯ
เชิญชวนนิสิตจุฬาฯ เรียนหลักสูตร Google AI Essentials บน Coursera
คอนเสิร์ต “Music Connections: From Chao Phraya to Huangho” สานสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-จีน โดยวง CU Chamber Ensemble และ BFSU Chamber Orchestra
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร The University of Waikato
อาจารย์และนิสิตจุฬาฯ จิตอาสา ลำเลียงถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมจังหวัดเชียงราย
จุฬาฯ ต้อนรับคณะครูและนักเรียนจาก YAAE สาธารณรัฐประชาชนจีน เยี่ยมชม รับฟังข้อมูลหลักสูตรศึกษาต่อจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้