วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ผนึกกำลัง บมจ. พริ้นท์ซิเพิล แคปิตอล และองค์กรชั้นนำ รีไซเคิลขยะทางการแพทย์

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการรีไซเคิลขยะทางการแพทย์จาก PVC เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 ณ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ โดยมี ศ.ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ผศ.ดร.มานิตย์ นิติธนากุล ประธานกลุ่มวิจัยการจัดการขยะพลาสติก WMS-HUB นพ.กฤตวิทย์ เลิศอุตสาหกูล กรรมการผู้จัดการ บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล นายธาริน เอี่ยมเพชราภงศ์ กรรมการและ CFO บมจ. พริ้นซิเพิล แคปิตอล คุณอภิชัย เจริญสุข รองประธาน สมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล และคุณโทโมทากะ โยชิคาวะ กรรมการสมาคมอาเซียน ไวนิล เคาน์ซิล ร่วมลงนามความร่วมมือ นอกจาก 4 องค์กรหลักแล้วยังมี บริษัท นครหลวงอุตสาหกรรม โดยคุณอานันท์ อาชวกุลเทพ ผู้บริหารของบริษัท ร่วมสนับสนุนโครงการรีไซเคิลขยะทางการแพทย์จาก PVC ด้วยดีมาตลอด
ในอุตสาหกรรมการแพทย์ มีขยะจาก PVC เช่น ถุงน้ำเกลือ ท่อระบายเลือด และหน้ากากในปริมาณมาก ในอดีตขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยการเผาหรือฝังกลบ ซึ่งไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการสูญเสียทรัพยากรอย่างมหาศาล โครงการนี้มุ่งเน้นการเก็บรวบรวมขยะทางการแพทย์จาก PVC เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการกำจัดขยะ นับเป็นก้าวสำคัญของการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย