ข่าวสารจุฬาฯ

ชมรมจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับชมรมจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมแห่งประเทศไทย กำหนดจัดการประชุมวิชาการ “ชมรมจิตบำบัดความคิดและพฤติกรรมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4” ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องรัตนโกสินทร์-สุโขทัย ชั้น 1 โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการบำบัดด้วยเทคนิค Cognitive Behavioral Therapy (CBT) และเชื่อมโยงนักบำบัดในสหสาขาวิชาชีพเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในอนาคต ตลอดจนส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับ CBT ขึ้นในประเทศไทย โดยมีกิจกรรม Workshop ดังนี้

Workshop 1 – CBT for Psychosis

อ.ดร.นพ.สุทธา สุปัญญา สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

อ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรียนรู้ cognitive error ในผู้ป่วยที่มีอาการ psychosis เช่น หูแว่ว หลงผิด ทำความเข้าใจผู้ป่วยผ่านการทำ case formulation อย่างง่ายด้วยตนเอง รวมทั้งฝึกใช้เทคนิคของ CBT เพื่อลดอาการต่างๆ ของผู้ป่วย at-risk mental state และ schizophrenia (ผู้ที่เลือกเข้า workshop นี้ขอให้เตรียมหูฟังที่ใช้กับโทรศัพท์ของตนเองมาด้วยเพื่อฝึกปฏิบัติ)

 

Workshop 2 – CBT for Gambling Problem

คุณธนกฤษ ลิขิตธรากุล สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ และทีมงาน

ปัจจุบันปัญหาการพนันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และในยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บุคคลทั่วไปในทุกช่วงวัยเข้าถึงการเล่นการพนันได้ง่ายขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองทั้งในด้านสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การนำ CBT ซึ่งมีหลักฐานในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพในหลายปัญหาทางสุขภาพจิตมาประยุกต์ใช้กับปัญหาพนัน สำหรับผู้ที่สนใจในการช่วยเหลือและเข้าใจผู้ที่มีปัญหาพนันผ่านมุมมอง CBT

 

Workshop 3 – CBT for Insomnia (CBT-I)

ผศ.พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อาการนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ใกล้ตัว และ ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตอย่างมาก เรียนรู้การรักษาการนอนไม่หลับด้วยวิธี CBT for Insomnia (CBT-I) ซึ่งเป็นการรักษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

 

Workshop 4 – Introducing Dialectical Behavior Therapy (DBT)

อ.พญ.วนิดา รัตนสุมาวงศ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

DBT เป็นแขนงหนึ่งของ CBT ที่พบว่าใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีปัญหา Emotional regulation เช่นในBorderline personality disorder หรือ Deliberate self-harm (เช่นวัยรุ่นกรีดข้อมือ) เรียนรู้หลักการพื้นฐานของ DBT และการประยุกต์ใช้

 

Workshop 5 – CBT for Weight Loss and Control

อ.ดร.ภัทรศิริ วิรุตมวงศ์ รพ.กรุงเทพ

ผู้เข้า workshop นี้จะได้ประสบการณ์เรียนรู้การนำเทคนิคของ CBT ไปใช้กับการควบคุมอาหารและน้ำหนัก เรียนรู้การจัดการความคิดที่เป็น Dysfunctional thought ซึ่งอาจทำให้แผนการควบคุมน้ำหนักไม่ได้ผล

 

Workshop 6 – How to Do Effective Socratic Questioning

ผศ.นพ.ชัยชนะ นิ่มนวล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Socratic questioning คือการใช้คำถามต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นกระบวนการคิดและนำไปสู่การค้นพบคำตอบด้วยตนเองโดยมีผู้บำบัดเสมือนเป็นผู้นำทาง (Guided discovery) ซึ่งเป็นเทคนิคที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของ CBT ใน workshop นี้อาจารย์วิทยากรจะถ่ายทอดว่าถ้าจะทำ Socratic questioning ให้ได้ผลดีนั้นทำได้อย่างไร

 

Workshop 7 – Design-Based Cognitive Behavioral Technology (DCBT)

อ.พญ.ศิริรัตน์ อุฬารตินนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

อ.พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ บ.อาร์ทิพาเนีย

เมื่อนำการออกแบบโดยมีคนเป็นศูนย์กลางอย่าง Design Thinking ผสมผสานกับความรู้และทักษะการทำจิตบำบัดแบบ CBT จึงออกมาเป็น DCBT เพื่อ “ปรับความคิด ออกแบบพฤติกรรม” ภายใต้ชื่อ DCBT Lab เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพจิตของวัยรุ่นและเยาวชน

 

Workshop 8 – Behavioral Experiment in CBT

ผศ.นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“ก็คิดได้แล้วแต่ทำไมยังไม่รู้สึกดี” มาเรียนรู้หาคำตอบของคำถามนี้ด้วย “การทดลอง” ทำอะไรบางอย่างเพื่อพิสูจน์และตรวจสอบความเชื่อ อันจะนำไปสู่ความความเปลี่ยนแปลงภายในที่ลึกลงไปมากกว่าแค่คิดได้เฉยๆ ผู้เลือกเข้า workshop นี้จะได้ประสบการณ์ลองทำอะไรบางอย่างเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในตนเอง

 

Workshop 9 – Acceptance and Commitment Therapy (ACT)

ผศ.ดร.กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ และ อ.ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กล่าวกันว่า ACT เป็นหนึ่งในพัฒนาการของ CBT ยุคที่ 3 ในปัจจุบันหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากบ่งชี้ว่า ACT เป็นจิตบำบัดที่มีประสิทธิภาพในการลดปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ อาทิ เช่น ภาวะซึมเศร้า และความวิตกกังวลต่าง ๆ ร่วมเรียนรู้ขั้นตอนและกระบวนการของ ACT ในการลดปัญหาสุขภาพจิต

 

 

ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัครที่  https://bit.ly/2kkma4g พร้อมส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนมาที่ chanhathai.k@gmail.com หรือ โทรสาร 0-2218-2895 ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2562

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2jNqvwu หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณฉันท์หทัย กตัญญู ส่วนบริการวิชาการและวิจัย 2 ฝ่ายบริหารโครงการ โทร. 0-2218-2880 ต่อ 421-424 หรือทาง Facebook: CBT Alliance of Thailand

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า