รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มกราคม 2563
วันปีใหม่สากลผ่านไปแล้ว แต่สำหรับคนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีน ปีใหม่จีนหรือตรุษจีนกำลังจะมาถึงในวันที่ 25 มกราคมนี้ แม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดราชการของไทย แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนก็ตั้งตารอช่วงเวลานี้เพื่อรวมญาติ พบปะครอบครัว ไหว้เทพเจ้า และไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยกัน
รองศาสตราจารย์ ดร.เมี่ยว หรง ผู้อำนายการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงที่มาของวันตรุษจีนว่า “ในประเทศจีนเรียกวันตรุษจีนว่า “ชุนเจี๋ย” (春节) หมายถึง “เทศกาลแห่งฤดูใบไม้ผลิ” วันตรุษจีนนับเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาวและเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกเป็นวันแรกตามปฏิทินจันทรคติจีน”
“ในอดีตสังคมจีนเป็นสังคมเกษตรกรรม ช่วงเทศกาลตรุษจีนเป็นช่วงเวลาที่เกษตรกรว่างจากการทำงาน ทุกคนในครอบครัวจึงสามารถมาพักผ่อนร่วมกันได้ ด้วยเหตุนี้เทศกาลตรุษจีนจึงเป็นช่วงเวลาที่คนจีนใช้เวลาอยู่กับครอบครัวจวบจนปัจจุบัน”
ครอบครัวคือหัวใจของเทศกาลตรุษจีนมาแต่อดีต แต่ในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นรายละเอียดของเทศกาล ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการเฉลิมฉลอง ความเชื่อ สิ่งต้องห้าม สีเสื้อผ้าที่สวมใส่ ต่างๆ เหล่านี้ คนจีนในประเทศจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความหมายแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งอาจารย์เมี่ยวให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “หลายความเชื่อและกิจกรรมในเทศกาลตรุษจีนของคนไทยเชี้อสายจีนและคนจีนมีความต่างกัน วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิมไม่ใช่เรื่องผิด ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเสมอในทุกสังคม แม้กระทั่งตรุษจีนในสังคมจีนปัจจุบันก็แตกต่างไปจากอดีต เช่น คนจีนบางกลุ่มไม่ได้ทานเจหรือไหว้เทพเจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะไม่ได้นับถือศาสนาพุทธแล้ว แม้ว่าพวกเขาจะยังเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วก็ตาม”
เทศกาลตรุษจีนที่คนไทยเชี้อสายจีนคุ้นเคยแบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว แต่เทศกาลตรุษจีนในประเทศจีนซึ่งรัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดราชการนั้นยาวนานถึง 7 วัน! โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นเดียวกัน ได้แก่
ช่วงที่ 1 เตรียมตัว: เป็นช่วงที่คนจีนจะออกจากบ้านมาซื้อของใช้ อาหาร และทำความสะอาดบ้านล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวต้อนรับเทศกาลตรุษจีนที่กำลังจะมาถึง
ช่วงที่ 2 ก่อนวันตรุษจีน 1 วัน: เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมารวมตัวกันพร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ไหว้ญาติผู้ใหญ่ และรับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งนับเป็นวันหยุดราชการวันแรกในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ช่วงที่ 3 วันตรุษจีน: เป็นช่วงเวลาที่คนจีนจะได้ไปเที่ยว และพักผ่อนตามอัธยาศัย
“คนไทยเชื้อสายจีนคุ้นเคยกับ “อั่งเปา” หรือ “หงเปา” (红包) มีความหมายว่า ซองแดง ซึ่งผู้น้อยมักได้รับจากผู้ใหญ่ แต่คนจีนจะเรียกว่า “ยาซุ่ยเฉียน” (压岁钱) หรือ “เงินกำจัดปีศาจ” ซึ่งเป็นเงินที่ใส่ซองสีแดงเหมือนกัน โดยคนจีนมีความเชื่อว่าในช่วงเทศกาลตรุษจีนจะมีปีศาจร้ายมาที่บ้านแล้วจะจับตัวเด็กๆ ไป ผู้ใหญ่จึงให้ “ยาซุ่ยเฉียน” แก่เด็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปีศาจลักพาตัวเด็กไป นอกจากนี้ คนจีนยังขับไล่ปีศาจด้วยการจุดประทัดหน้าบ้านด้วย เสียงดังจะทำให้ปีศาจกลัวจนไม่กล้ามาบ้าน” อาจารย์เมี่ยว อธิบายและเสริมว่า ปัจจุบันหากพูดถึง “หงเปา” คนจีนจะนึกถึงฟีเจอร์ในแอปพลิเคชันวีแชท (WeChat) ที่สามารถส่งเงินให้ญาติๆ เพื่อนๆ ในวีแชทได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คนจีนนิยมทำกันในช่วงตรุษจีนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ อาจารย์เมี่ยวยกตัวอย่างความเชื่อเรื่องการกวาดบ้าน สีของเสื้อผ้าในช่วงตรุษจีน และสิ่งต้องห้ามต่างๆ ที่คนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อต่างกันไปบ้าง
“คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่า ช่วงเทศกาลตรุษจีนห้ามกวาด หรือทำความสะอาดบ้าน เพราะจะเป็นการกวาดโชคลาภ เงินทองออกไปจากบ้าน แต่สำหรับคนจีน ยังทำความสะอาดบ้านได้ แต่ห้ามเอาทรัพย์สินทุกชนิด แม้แต่ขยะออกไปทิ้งไว้ข้างนอกบ้าน เพราะเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างที่อยู่ในบ้านเป็นทรัพย์สินเงินทอง การเอาของในบ้านไปทิ้งถือว่าเป็นการเอาทรัพย์สินเงินทองไปทิ้ง ต้องรอจนกว่าจะผ่านวันที่ 5 ของเทศกาลตรุษจีนไปแล้วจึงสามารถเอาขยะออกไปทิ้งได้”
สำหรับสีเสื้อผ้า คนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าควรใส่เสื้อผ้าสีแดงหรือสีสดใสในวันตรุษจีน แต่สำหรับคนจีน เสื้อที่ใส่ช่วงเทศกาลตรุษจีนจะเป็นสีใดก็ได้ แต่ต้องเป็นเสื้อตัวใหม่เท่านั้น!
“คนจีนในชนบทมักจะนิยมสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง เพราะมีความหมายดี ในขณะที่คนจีนในเมืองจะสวมใส่เสื้อผ้าตามแฟชั่นร่วมสมัย” อาจารย์เมี่ยว กล่าว
“ในอดีตคนจีนค่อนข้างมีฐานะยากจน ช่วงตรุษจีนเป็นช่วงเดียวที่พวกเขาจะมีโอกาสได้กินของดีๆ ได้ใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ คนจีนสมัยก่อนจึงให้ความสำคัญกับเทศกาลตรุษจีนมาก ในขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้รู้สึกว่าตรุษจีนสำคัญมากขนาดนั้น เพราะพวกเขาสามารถซื้อเสื้อผ้าใหม่เมื่อไรก็ได้ และจะกินของดีๆ เมื่อไรก็ได้เช่นกัน”
ส่วนเรื่องหรือสิ่งต้องห้ามต่างๆ ก็ต่างกันไปตามบริบทพื้นที่ บางพื้นที่ในประเทศจีนห้ามอาบน้ำในเทศกาลตรุษจีน บางพื้นที่ห้ามใช้ของมีคม บางพื้นที่ห้ามทำงานหนัก
“แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนยึดถือร่วมกันคือ ห้ามพูดสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลทุกประเภท” อาจารย์เมี่ยวเน้น ซึ่งไม่เพียงคนจีน แต่คนไทยเชื้อสายจีน ก็ให้ความสำคัญกับข้อห้ามนี้เช่นกัน
แม้ว่าตรุษจีนจะแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และคนจีนในปัจจุบันไม่ได้เคร่งเรื่องประเพณีมากนัก แต่สิ่งที่ไม่เคยเลือนหายคือการใช้เวลาร่วมกับครอบครัวและการเคารพบรรพบุรุษ
“สถาบันครอบครัวยังคงเป็นหัวใจหลักของเทศกาลตรุษจีนเสมอ” อาจารย์เมี่ยวกล่าว และเล่าถึงการฉลองปีใหม่จีนของอาจารย์เองว่า “กิจกรรมที่จะพยายามทำให้ได้ในทุกๆ เทศกาลตรุษจีน คือ รับประทานอาหารร่วมกับครอบครัว ไปเยี่ยมเคารพญาติผู้ใหญ่ และเผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ แม้ว่าบางปีไม่ได้อยู่ที่ประเทศจีน ซึ่งทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ แต่ก็หาโอกาสไปร่วมรับประทานอาหารกับกลุ่มเพื่อนอาจารย์ที่สถาบันฯ ที่เป็นเหมือนครอบครัวของดิฉันที่ประเทศไทย” อาจารย์เมี่ยวกล่าวพร้อมรอยยิ้ม
สุดท้ายนี้เนื่องในเทศกาลตรุษจีนอธิการบดีฝากคำอวยพรให้ผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง ประสบความสำเร็จทุกประการ คิดหรือทำสิ่งใดขอให้ราบรื่นเสมอ “สุขสันต์วันตรุษจีน”
สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นคลังข้อมูลทางวัฒนธรรมและเป็นสะพานเชื่อมโยงไทย-จีน ผ่านการเรียนภาษา กิจกรรมทางวัฒนธรรม และการศึกษาต่อที่ประเทศจีน
แวะมาค้นคว้า เรียนรู้เกร็ดเรื่องราวของมังกร “จีน” ได้เสมอ หรือมาทักทายพูดคุยกันได้ที่สถาบันฯ หรือติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook: สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ WeChat: gh_a43e1ff235b0
สามารถติดตามอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายได้ใน วารสาร CU Around
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้