รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ หังสสูต หน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงเครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติเครื่องแรกในประเทศไทย ซึ่งให้บริการแก่ประชาชนในการตรวจหาเชื้อ COVID -19 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุดเด่นของเครื่องมือนี้คือเป็นระบบอัตโนมัติ ไม่ต้องใช้คนเข้าไปเกี่ยวข้องมากนัก จึงมีความปลอดภัย สามารถป้องกันคนของเราไม่ให้ติดเชื้อ ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงานได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันผลการติดเชื้อได้ถึง 99 % เครื่องนี้ได้รับการอนุมัติมาตรฐานจาก อย.ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ทำการทดสอบกับวิธีการตรวจแบบมาตรฐานของประเทศไทยแล้วพบว่าได้ผลสอดคล้องกัน เครื่องนี้ยังสามารถตรวจได้มากถึง 1,440 ตัวอย่างต่อวัน สามารถรู้ผลได้เร็วภายใน 3 – 5 ชั่วโมงสำหรับการทำงานในช่วงแรก หลังจากนั้นสามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาเพียงแค่ 90 นาที
ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวว่าการตรวจหาเชื้อ COVID -19 ด้วยเครื่องมือนี้เป็นการตรวจจากน้ำที่ป้ายจากลำคอของคนไข้ที่มารับบริการตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ หรือโรงพยาบาลอื่น เมื่อทางโรงพยาบาลได้รับตัวอย่างของสารที่จะทำการตรวจแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งตัวอย่างมาใส่ในหลอดเพื่อนำไปใส่ในเครื่องดังกล่าวซึ่งจะทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ตั้งแต่การสกัดสารพันธุกรรมของไวรัส นำมาเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และตรวจสอบว่ามีสารพันธุกรรมนั้นๆ หรือไม่ ผลการตรวจสามารถดูได้จากภายนอกห้องตรวจ ซึ่งเป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่มีคนเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงมีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ปัจจุบันเครื่องตรวจเชื้อ COVID -19 ได้ให้บริการแก่คนไข้ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลเอกชนไปแล้วกว่า 300 ตัวอย่าง แต่ยังไม่ได้เปิดรับการตรวจที่โรงพยาบาลในต่างจังหวัด เพราะเราต้องการให้ทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเรียนรู้กับการทำงานของเครื่องมือนี้ให้มีการใช้งานที่คล่องตัว จากนั้นจะสามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่ซึ่งสามารถรับได้ 1,440 ตัวอย่างต่อวัน ผู้ที่จะมารับบริการไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านสถานที่ซึ่งรองรับได้ไม่เกิน 200 คนต่อวันเท่านั้น คนไข้สามารถไปตรวจที่โรงพยาบาลอื่นๆ แล้วส่งตัวอย่างมาตรวจได้ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้
ทั้งนี้ เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีมูลค่า 15 ล้านบาท ซึ่งได้รับการบริจาคจากคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา และภรรยา จากกลุ่มธุรกิจ TCP
“เครื่องตรวจ COVID -19 อัตโนมัติสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาการระบาดของ COVID -19 ในบ้านเราได้เป็นอย่างดี ถ้าเราสามารถตรวจคนไข้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น รู้ผลได้เร็วขึ้นก็น่าจะช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลเหล่านั้นไปแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อไป” ผศ.ดร.นพ.ปกรัฐ กล่าวทิ้งท้าย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้